True-อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาความขัดแย้งคน-ช้างป่า

Share

Loading

การลดลงของพื้นที่ป่าเพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรมส่งผลให้แหล่งอาหารของช้างป่าลดน้อยลง นำไปสู่การที่ช้างป่าออกมาบุกรุกพื้นที่ชุมชนและก่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในปี 2561 ได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ WWF ประเทศไทย ดำเนินการนำร่องระบบในพื้นที่รอบเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G, 4G และ IOT มาเป็นโซลูชันช่วยจัดการปัญหาความขัดแย้ง ผ่านโครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า หรือ True Smart Early Warning System (TSEWS)

การทำงานของโซลูชั่น True Smart Early Warning System (TSEWS) เฝ้าระวังช้างป่ากว่า 400 ตัวในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

– นำเครือข่ายอัจฉริยะ 4G, 5G ผสานกับเทคโนโลยี AI และอุปกรณ์ IoT พัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า

– ติดตั้งกล้อง Camera Trap พร้อมซิม เชื่อต่อเครือข่าย เพื่อระบุพิกัด และแจ้งเหตุแบบเรียลไทม์

– เมื่อกล้องตรวจจับพบช้างออกนอกบริเวณพื้นที่ป่า เริ่มบุกรุก ระบบส่งภาพช้างพร้อมพิกัดแจ้งเตือนไปยังระบบ Cloud

– ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมแจ้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพร้อมโดรนเข้าตรวจสอบ

– เจ้าหน้าที่ดำเนินการผลักดันช้างกลับเข้าป่า ลดความสูญเสีย

ปี 2566 แม้พบเหตุการณ์ช้างป่าบุกรุกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีถึง 1,104 ครั้ง แต่เกิดความเสียหายต่อพืชผลเพียง 4 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.36% เท่านั้น นับเป็นพัฒนาการที่ก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปี 2560 ก่อนการติดตั้งโซลูชันที่มีความเสียหายสูงถึง 74.5% สะท้อนให้เห็นว่าระบบแจ้งเตือน TSEWS นี้ ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถผลักดันช้างกลับคืนสู่ป่าและป้องกันความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพเกือบ 100%

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/photo/?fbid=963161295846107&set=a.628388912656682