ความรู้เกี่ยวกับ “พลังงานความร้อนใต้พิภพ”
“พลังงานความร้อนใต้พิภพ” หรือ Geothermal Energy เป็นการเจาะพื้น เพื่อนำพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ดินขึ้นมาใช้งาน ซึ่งต้องเจาะให้ถึงแกนกลางของโลกที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส
การเจาะ จะทำให้น้ำที่ถูกเก็บไว้ในโพรงของชั้นหินกลายเป็นไอน้ำดันขึ้นมาลอยสู่ชั้นบรรยากาศเกิดเป็นพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
โดยในปัจจุบันมี 24 ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าด้วย “พลังงานความร้อนใต้พิภพ”
โดยทั่วไป “แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ” ที่พบบนโลก สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ กล่าวคือ
1.แหล่งไอน้ำ หรือ Steam Dominated เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนที่ประกอบด้วยไอน้ำมากกว่า 95% โดยทั่วไปมักจะเป็นแหล่งที่ใกล้กับหินหลอมเหลวร้อนที่อยู่ระดับตื้น
อุณหภูมิของไอน้ำร้อนจะสูงกว่า 240 องศาเซลเซียสขึ้นไป แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่นี้จะพบน้อยมาก แต่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด เช่น The Geyser Field ในสหรัฐอเมริกา และ Larderello ในอิตาลี เป็นต้น
“แหล่งไอน้ำ” เป็นแหล่งพลังงานที่อยู่ใกล้แหล่งหินหลอมเหลว ทำให้บริเวณนั้นเกิดความร้อนสูงจนเดือนเป็นไอ อุณหภูมิของไอน้ำมีความร้อนสูงถึง 240 องศาเซลเซียส
2.แหล่งน้ำร้อน หรือ Hot Water Dominated เป็นแหล่งกักเก็บสะสมความร้อนโดยอุณหภูมิน้ำร้อนจะมีตั้งแต่ 100 องศาเซลเซียสขึ้นไป ระบบนี้จะพบมากที่สุดในโลก เช่นที่ Cerro Prieto ในเม็กซิโก และ Hatchobaru ในญี่ปุ่น เป็นต้น
“แหล่งน้ำร้อน” ส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็ม โดยจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 180 องศาเซลเซียส บางแหล่งน้ำจะมีก๊าซธรรมชาติประกอบอยู่ด้วย สามารถแยกก๊าชออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก
3.แหล่งหินร้อนแห้ง หรือ Hot Dry Rock เป็นแหล่งสะสมความร้อนที่เป็นหินเนื้อแน่น แต่ไม่มีน้ำร้อน หรือไอน้ำไหลหมุนเวียนอยู่ ดังนั้น ถ้าจะใช้จำเป็นต้องอัดน้ำเย็นลงไปในหลุมเจาะ ให้น้ำได้รับความร้อนจากหินร้อนโดยไหลหมุนเวียนภายในรอยแตก
จากนั้นก็ทำการสูบน้ำร้อนนี้ขึ้นมาทางหลุมเจาะอีกหลุมหนึ่ง ซึ่งเจาะลงไปให้ตัดกับรอยแตกดังกล่าว แหล่งหินร้อนแห้งนี้กำลังทดลองผลิตไฟฟ้าที่ The Geyser Field ในสหรัฐอเมริกา และที่ Oita Prefecture ในญี่ปุ่น
“แหล่งหินร้อนแห้ง” จะไม่มีน้ำอยู่เลย จึงเป็นต้องนำน้ำเทลงไปเพื่อให้เกิดไอน้ำใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
นอกจากนี้ ยังมีแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพที่เรียกว่า “แหล่งแม็กม่า” หรือลาวาเหลว เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่มีค่าความร้อนสูงสุดที่มีอุณหภูมิถึง 650 องศาเซลเซียสส่วนใหญ่จะสามารถพบได้ในแหล่งใต้ภูเขาไฟ
“คิวชู” กับการนำ “พลังงานความร้อนใต้พิภพ” มาใช้
“คิวชู” ได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งออนเซ็น”
Kyushu Electric Power Company ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เป็นการนำเอาพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ดินขึ้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งมีเสถียรภาพและเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางสังคมในญี่ปุ่น และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลไทย โดยกระทรวงพลังงาน กับการแสวงหาแหล่งพลังงานทางเลือกในอนาคต
มหานครฟุกุโอกะ เกาะคิวชู เป็นศูนย์รวมวัฒนธรรม ที่ปกคลุมด้วยดอกซากุระของปราสาทคุมาโมโตะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูเขาไฟซากุระจิมะอันร้อนระอุ แหล่งน้ำพุร้อนของ “ดินแดนแห่งไฟ” เบ็ปปุ นี่คือโอเอซิสเปี่ยมชีวิตชีวาของคิวชู ศูนย์กลางของอารยธรรมญี่ปุ่นยุคแรกเริ่ม จุดกำเนิดประวัติศาสตร์ สมญานาม “โรมแห่งญี่ปุ่น”
ภูเขาไฟที่ตั้งตระหง่านไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติเพียงอย่างเดียวที่ถูกสร้างขึ้นจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก นักเดินทางจากทั่วโลกต่างเดินทางมายังคิวชูเพราะบ่อน้ำพุร้อนอันงดงามที่มีพลังบำบัดฟื้นฟูร่างกาย อย่าพลาดจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ทะเลสาบคินริน ที่เต็มไปด้วยหมอกยามเช้าที่เกิดจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ
โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ Hatchōbaru เป็นโรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพขนาดใหญ่ ในจังหวัดโออิตะประเทศญี่ปุ่น ด้วยกำลังการผลิต 112 เมกะวัตต์ ถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่ในเมืองโคโคโนเอะ ในอุทยานแห่งชาติอาโซะคูจู
โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพอีกแห่งคือโรงไฟฟ้าโอตาเกะซึ่งมีกำลังการผลิต 12.5 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าฮัตโชบารุประมาณ 2 กม. ที่ตั้งในอุทยานแห่งชาติและมีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอยู่ใกล้เคียง ทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้อยู่ภายใต้ข้อจำกัดและการควบคุมที่เข้มงวดเกี่ยวกับตำแหน่งของบ่อน้ำ การระบายน้ำ เสียง และสิ่งรบกวนสายตาจากทิวทัศน์ในท้องถิ่น
แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2024/11/12/geothermal-energy-in-kyushu/