จาก Analog สู่ Digital พัฒนาระบบการผลิต “ต้นทุนต่ำ” ด้วย Smart Monodzukuri

Share

Loading

หากเอ่ยถึงคำว่า Monozukuri ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ได้รับการถ่ายทอดจากญี่ปุ่น

Monozukuri หมายถึง วิถีการผลิตงานอย่างตั้งใจ โดยเอาจิตวิญญาณใส่เข้าไป เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปราณีต และมีคุณภาพที่ดีเลิศ

การเติมคำว่า Smart เข้าไป กลายเป็น Smart Monodzukuri จึงหมายถึง การเติม “ระบบการผลิตอัจฉริยะ” เข้ากับวิถีการผลิตงานอย่างตั้งใจ ใส่จิตวิญญาณ เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ปราณีต มีคุณภาพ

Smart Monodzukuri เกิดขึ้นเพื่อรองรับกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพเฉพาะทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่น

โครงการ Smart Monodzukuri ที่ ส.ส.ท. ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น จึงเกิดขึ้น เพื่อการสร้างบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะ เป็นฟันเฟืองสำคัญไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต

โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (METI) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย (JTECS) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO Bangkok)

Smart Monodzukuri เน้นการ “แก้ปัญหาหน้างาน” โดยใช้เทคโนโลยี IVI-Model (Industrial Value Chain Initiative) ที่ ส.ส.ท. เรียกว่า Kaizen IoT เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนระบบภายในองค์กร จาก Analog สู่ Digital โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร

โครงการ Smart Monodzukuri for P Q C D (Productivity-Quality-Cost-Delivery) โดยฝ่ายบริการให้คำปรึกษาและบริหารเครือข่าย สายงานการศึกษา ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาสถานประกอบการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้นำแนวทางการแก้ปัญหาหน้างานโดยใช้ IoT (Internet of Thing) ให้เกิด Small Start ในรูปแบบ Digital Visualization นำไปสู่กระบวนการบริหารการผลิตอย่างเป็นระบบที่สามารถติดตาม และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการพัฒนาทีมงาน “บุคลากรต้นแบบ” ให้สามารถขยายผลพัฒนา Kaizen IoT ได้ด้วยทีมงานเอง และเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำ LEAN อย่างเป็นระบบ นำไปสู่การบริหาร 4 Flows ที่มีประสิทธิภาพ อันประกอบไปด้วย Information Flow (สารสนเทศ) Material and Product Flow (วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์) People Flow (บุคลากร) และ Cash (กระแสเงินสด) ภายใต้แนวคิด Smart Monodzukuri for P Q C D (Productivity: ผลิตภาพ) (Quality: คุณภาพ) (Cost: ต้นทุน) (Delivery: การส่งมอบสินค้าและบริการ)

เหตุผลหลักที่ควรนำ Smart Monodzukuri มาใช้ก็คือ ระบบการผลิตในปัจจุบัน ต้องเป็นการพัฒนาการผลิตให้ทันสมัยเพื่อสอดรับกับยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยหลายบริษัทหลายโรงงานได้มีความพยายามลงทุนเปลี่ยนจากการผลิตด้วยมือ หรืออาศัยคนเป็นผู้ผลิต มาเป็นระบบอัตโนมัติ

อย่างไรก็ดี โรงงานหลายแห่งมีการเปลี่ยนจาก Analog มาเป็น Digital โดยไม่ได้ทำการ “กำจัดความสูญเปล่า” ให้เป็น “กระบวนการที่มีมูลค่า” ทำให้การลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือ Digital มาใช้ในองค์กรเกิดประโยชน์น้อย

ทว่า Smart Monodzukuri เป็นแนวทางกระบวนการ IVI Model (Industrial Value Chain Initiative Model) ของญี่ปุ่น เพื่อสร้างให้เกิดการลงทุนอย่างเป็นขั้นตอนในการนำ IoT มาปรับปรุง และประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนที่เหมาะสม

Smart Monodzukuri จึงเป็นโครงการเหมาะสำหรับโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานขนาดเล็ก และขนาดกลาง ทุกประเภทอุตสาหกรรม ที่ต้องการยกระดับการเปลี่ยนแปลงให้ทันยุคอุตสาหกรรม 4.0 ให้เกิดความคุ้มค่าจากการปรับปรุง

นอกจากนี้ Smart Monodzukuri ยังเป็นการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม กับการนำ IoT มาใช้ในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่งเสริมการพัฒนาระบบอัตโนมัติ และต่อยอดไปสู่การใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยก้าวรุดหน้าในระดับสูง

เนื่องจากหลักการสำคัญของ Smart Monodzukuri หรือ Smart Manufacturing คือ การฝึกฝนบุคลากรให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา เพื่อทำการปรับปรุง และมองหาโอกาสการพัฒนากระบวนการผลิตในโรงงานด้วย IoT

เช่น การควบคุมสถานะกระบวนการผลิตผ่าน Raspberry Pi และสร้างหน้าจอแสดงผลที่เชื่อมกับเครือข่าย Internet (สัญญาณ Wifi) ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่สูง แต่สามารถช่วยให้ควบคุมการผลิตได้ตลอดเวลา หรือ Real Time ทำให้ฝ่ายผลิตเห็นภาพข้อมูล และมีการแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหาในสายการผลิตผ่านไปยังช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น LINE กลุ่มในโทรศัพท์มือถือได้

ดังนั้น การเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ภายใต้เป้าหมายสำคัญสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 โดยใช้ Smart Monodzukuri จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพ และเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต

การนำ Smart Monodzukuri  มาใช้ในภาคการผลิตของอุตสาหกรรม ไม่ใช่การลงทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เพราะหัวใจสำคัญของการนำ IoT มาใช้ในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการที่บุคลากรสามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเป็นส่วนๆ ภายในโรงงานได้อย่างตรงจุด และเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการพัฒนากระบวนงาน

เนื่องจากการสร้างบุคลากร 4.0 เป็นกำลังสำคัญในขับเคลื่อนองคาพยพไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2025/01/10/smart-monodzukuri-concept/