เทเลนอร์ เอเชีย เผยประเทศไทยเชื่อถือใน AI มากที่สุดในภูมิภาค เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ใช้งานจากตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาค ขณะที่ชีวิตของคนไทยขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเป็นอันดับต้น ๆ ใช้เวลาออนไลน์เกือบ 5 ชั่วโมงต่อวัน
รายงาน ‘Digital Lives Decoded 2024″ ของประเทศไทย ฉบับล่าสุดของ เทเลนอร์ เอเชีย (Telenor Asia) เผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติด้านดิจิทัลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดย GlobalWebIndex (GWI) บริษัทที่ดำเนินงานวิจัยด้านผู้บริโภคระดับโลก โดยรายงานครั้งนี้สะท้อนถึงอิทธิพลของการใช้โทรศัพท์มือถือที่ส่งผลต่อการหล่อหลอมวิถีการใช้ชีวิตที่ชาญฉลาดและปลอดภัยยิ่งขึ้นในประเทศไทย
นางสาวมานิช่า โดกรา รองประธานอาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กรและความยั่งยืนของเทเลนอร์เอเชีย กล่าว“ในปีนี้ Telenor ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 25 ในประเทศไทย ความก้าวหน้าของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลนั้นน่าทึ่งมาก จากรายงานประจำปีนี้ได้แสดงถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นของผู้บริโภคอันเด่นชัดของประเทศไทย ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีมือถือและศักยภาพในการสร้างการเปลี่ยนแปลงของ AI”
“ผลการวิจัยจากรายงาน Digital Lives Decoded 2024 ของเราเน้นย้ำถึงโอกาสมากมายที่ AI นำมาสู่ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยส่วนบุคคลไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าวงการการศึกษาและบันเทิง ในขณะที่เราเดินหน้าไปสู่ภูมิทัศน์ที่น่าตื่นเต้นนี้ สิ่งสำคัญคือต้องให้ความรู้และเครื่องมือแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยเพื่อใช้ประโยชน์จาก AI ขณะเดียวกันเสริมเกราะความปลอดภัยด้านดิจิทัลของพวกเขาอีกด้วย”
1.การใช้งาน AI กำลังผงาดขึ้นในประเทศไทย บนประโยชน์มากมายที่ยังพร้อมให้ค้นหาในสถานที่ทำงาน
AI กำลังก้าวขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับวิถีชีวิตที่ชาญฉลาด ปลอดภัย และเชื่อมต่อกันมากขึ้นในประเทศไทย ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยเกือบครึ่งหนึ่งกล่าวว่า AI เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พวกเขาตื่นเต้นมากที่สุด ที่น่าสนใจคือ คนรุ่นเก่า (Gen X และ Baby Boomers) แสดงความตื่นเต้นเกี่ยวกับ AI มากกว่าคน Gen Z และ Millennials
การตื่นตัวของคนต่อ AI ในประเทศไทยนั้นชัดเจนอย่างมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 77% ใช้เครื่องมือ AI อยู่แล้ว ในแง่ของการใช้งาน AI เพื่อความบันเทิงเป็นอีกหนึ่งด้านที่ผู้คนให้ความสำคัญ โดยมากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ AI สำหรับโซเชียลมีเดีย และเกือบ 40% มีส่วนร่วมกับ AI บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง แม้ว่า 85% เชื่อว่า AI จะส่งผลดีต่อการศึกษาในประเทศไทย อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสมากมายของ AI มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมากในที่ทำงานแต่ยังไม่ได้มีการค้นพบวิธีปรับใช้อย่างที่เป็นรูปธรรมมากนัก
ปัจจุบันประเทศไทยยังตามหลังตลาดอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการใช้เครื่องมือ AI ในสถานที่ทำงาน โดยมีอัตราเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ใช้ AI เพื่อการทำงาน เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งการทำงานเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานมากที่สุด โดยผู้ที่ใช้ AI เพื่อทำงานนั้นมีแนวโน้มสูงกว่าผู้ที่ไม่เชื่อว่า AI จะส่งผลบวกต่อความมั่นคงในการทำงานถึง 13% นอกจากนี้ พวกเขายังมีแนวโน้มสูงกว่า 43% ที่จะเชื่อถือในข้อมูลที่สร้างโดย AI โดยเฉพาะจากแชทบอตของ AI อีกด้วย
ผู้มีรายได้สูงมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้ AI ในที่ทำงานมากกว่า 21% นอกจากนี้ พวกเขามักจะมีมุมมองแง่บวกเกี่ยวกับอิทธิพลเชิงบวกของการใช้ AI ต่อสังคมมากขึ้น เนื่องจากมีการนำ AI มาใช้ในสถานที่ทำงานเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าจะส่งผลดีต่อส่วนอื่นๆ ของสังคมด้วย
2.ความขัดแย้งในด้านของความเป็นส่วนตัว: ผู้คนให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายมากกว่าความเป็นส่วนตัว
ในยุคที่อุปกรณ์ต่างๆ มีการนำ AI เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน โทรศัพท์มือถือช่วยให้ผู้คนในประเทศไทยสามารถเข้าถึงข่าวสารล่าสุดพร้อมรับความบันเทิงได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ โอกาสทางการศึกษา และเสริมชุมชนที่รู้ทันโลก ปลอดภัย และเชื่อมต่อกันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้คนสามในสี่คนรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของตนทางออนไลน์ได้ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โดยอยู่ที่ 68%) การหลอกลวงทางการเงินและการขโมยข้อมูลส่วนตัวยังเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ ในประเทศไทย โดยอย่างน้อย 1 ใน 2 ของกลุ่มคนยังกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นประชาชนในประเทศไทยยังคงมั่นใจในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของตนทางออนไลน์ และมีแนวโน้มน้อยที่สุดที่จะกังวลเกี่ยวกับวิธีที่บริษัทต่างๆ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้
อัตราของประชากรไทยนั้นมีค่อนข้างสูงที่เชื่อใจเว็บไซต์ที่ตนใช้งานในแง่ของการที่เว็บไซต์เหล่านั้นจะสามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวของพวกเขาได้ (โดยมีมากถึงกว่า 38% เทียบกับเพียง 21% ในประเทศสิงคโปร์) และมีแนวโน้มที่จะอนุญาตให้บริษัทเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาเพื่อแลกกับข้อเสนอและบริการส่วนบุคคล (6 ใน 10 เทียบกับประเทศมาเลเซีย และ 5 ใน 10 เทียบกับประเทศสิงคโปร์) สิ่งเหล่านี้เน้นย้ำถึงความย้อนแย้งในด้านของความเป็นส่วนตัวทั่วไป อย่างไรก็ตามในขณะที่ผู้คนแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว แต่พวกเขาไม่ยอมที่จะละทิ้งความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันโดยที่ยอมจำนนต่อการเสียความเป็นส่วนตัวบางส่วน
3.คนไทยยังมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับ AI และสิ่งที่ AI สามารถเสริมการใช้ชีวิตที่รู้ทันโลกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
คนไทยตระหนักถึงการที่ AI สามารถช่วยให้เราทุกคนรู้ทันโลกและปลอดภัยมากขึ้น โดย 6 ใน 10 ของคนรู้สึกตื่นเต้นกับความสามารถที่เป็นเลิศของ AI และเชื่อว่าอุปกรณ์มือถือของพวกเขาจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อผนวกการใช้งานกับ AI แต่ทว่าสิ่งที่น่าสนใจก็คือ แม้แต่ผู้ที่กังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลก็มีมุมมองที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพและรู้สึกตื่นเต้นกับประโยชน์มากมายของ AI โดยผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 51% กล่าวว่าพวกเขาคาดหวังว่าอุปกรณ์มือถือที่ขับเคลื่อนโดย AI จะมอบความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มเกราะป้องกันด้านข้อมูลส่วนตัวที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนโดย AI นั้นลดลงในประเทศไทยมากกว่าในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ และความเชื่อมั่นในข้อมูลที่สร้างโดย AI ก็สูงขึ้นในทุกด้านของประเทศไทย
นางสาวมานิช่า โดกรา สรุปว่า “เพื่อประโยชน์ของการใช้งานสูงสุดจากเทรนด์ของเทคโนโลยีที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราอย่างเต็มที่ สร้างความเชื่อมั่น ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรียนรู้ และรับผิดชอบในการใช้งานด้านดิจิทัลถือว่าเป็นหัวใจสำคัญซึ่งจะให้ผู้ใช้ในประเทศไทยสามารถเติบโตและเข้าถึงได้อย่างมั่นใจในยุคของ AI”
แหล่งข้อมูล