“Waste No More สานต่อความยั่งยืน”ฟื้นของเสีย ..เกิดคุณค่าอย่างประสิทธิภาพ

Share

Loading

เป็นแนวทางที่สอดรับกับหลักการ BCG หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผสมผสานการพัฒนา 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรอย่าง “บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ” นำหลัก BCG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมให้บุคลากรของบริษัท ตระหนักและให้ความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด ลดของเสียในกระบวนการผลิต นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ ช่วยเพิ่มมูลค่าของเสียให้เป็นของดีอย่างมีประสิทธิภาพ (Waste to Value) พัฒนากระบวนการบริหารจัดการของเสียตลอดกระบวนการ ทั้งในฟาร์มเลี้ยงสุกร โรงงานผลิตอาหารสุกร จนถึงโรงงานชำแหละตัดแต่งและแปรรูปสุกร

“สมพร เจิมพงศ์” ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิต ทั้งการพัฒนามาตรฐานฟาร์มสีเขียว (Green Farm) บริหารจัดการฟาร์มสุกรรักษ์โลกที่เน้นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิดที่ทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำหรือระบบอีแวป (EVAP) ใช้ระบบบำบัดน้ำด้วยไบโอแก๊ส (Biogas) ช่วยลดกลิ่น พัฒนากระบวนการเลี้ยงสัตว์ที่คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและระบบอัตโนมัติมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่ ที่นอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูปลอดสาร ปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นตัวอย่างของภาคปศุสัตว์ที่อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

จากความคิดริเริ่มที่มองเห็นประโยชน์ของของเสีย แล้วสรรหานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนให้เป็นของดีอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดโครงการ “Waste No More สานต่อความยั่งยืน” โดยนำของเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดและกระบวนการเผาไหม้กลับมาใช้ เปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นของดี เกิดเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ “น้ำปุ๋ยดี แก๊สดี กากตะกอนดี เถ้าดี”

น้ำปุ๋ยดี สู่เกษตรกร น้ำปุ๋ยที่ได้จากการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบไบโอแก๊ส ได้แก๊สมีเทน นำมาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า ทดแทนการซื้อไฟจากการไฟฟ้า เฉลี่ย 50-70% สามารถนำน้ำทั้งหมดกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยไม่ปล่อยสู่ภายนอก (Zero Discharge) ทั้งทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ ล้างพื้นและถนน ใช้เป็นน้ำสำหรับพ่นระบบฟอกอากาศหลังโรงเรือน ใช้รดพื้นที่สีเขียวและพื้นที่การเกษตรของหน่วยงาน อาทิ ผักสวนครัว สวนยาง สวนปาล์ม และสวนป่า ขณะที่ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำและขอนำน้ำปุ๋ยไปใช้ ซีพีเอฟจึงต่อยอดสู่ “โครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกรและชุมชน” ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติแล้ง เพิ่มผลผลิต ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำและปุ๋ยเคมี ช่วยเพิ่มรายได้ และเกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ปราชญ์น้ำปุ๋ยที่เชี่ยวชาญการผสมน้ำกับพันธุ์พืชแต่ละชนิด

แก๊สดี สู่ชุมชน ฟาร์มสุกรในโครงการคอนแทรคฟาร์มเลี้ยงสุกรขุน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งทำระบบไบโอแก๊สด้วยบ่อหมักแบบโดมคงที่ (Fixed dome) สามารถนำแก๊สที่ได้ต่อท่อลำเลียงแก๊สส่งให้ชุมชน ใน ต.บ้านด้าย กว่า 30 ครัวเรือน โดยได้รับงบสนับสนุนครึ่งหนึ่งจาก อบต.บ้านด้าย ในการต่อท่อส่งแก๊ส ช่วยลดค่าใช้จ่ายแก๊สหุงต้มแก่ครัวเรือนราว 15 ถัง/เดือน วิสาหกิจชุมชนลดได้ 5 ถัง/เดือน แม่ค้าในตลาดลดได้ 4 ถัง/เดือน และโรงเรียนบ้านด้ายต่อยอดความสำเร็จสามารถผลิตแก๊สเองได้แล้ว

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/environment/1162935