TRANSPORTATION SECURITY: Autonomous Vehicle

Share

Loading

สวัสดีปีวัว (พ.ศ.2564) เพื่อนสมาชิกนิตยสาร Security Systems ที่เคารพ

สถานการณ์ COVID-19 ของโลกยังไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนคลาย เศรษฐกิจโลกคงไม่ต้องพูดถึง แต่ก็ยังดีที่วัคซีนจากค่ายต่าง ๆ เริ่มมีการกระจายและฉีดให้กับประชาชนส่วนหนึ่งในโลกแล้ว ซึ่งประเทศไทยก็มีแผนการกระจายและฉีดวัคซีนภายในปีนี้จำนวนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงต้องอยู่กับโรคระบาด COVID-19 ต่อไปอีกนาน ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านที่เคารพดูแลรักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจให้แข็งแรงนะครับ

ช่วงปลายปี 2563 ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมงาน TISDA2020 ซึ่งมีหัวข้อบรรยายที่น่าสนใจหลากหลายเรื่อง แต่หนึ่งในเรื่องที่ผู้เขียนสนใจและขออนุญาตนำมาเล่าให้เพื่อนสมาชิกได้รับทราบ คือเนื้อหาบางส่วนในเรื่อง Smart City and Smart Mobility ที่ ศ.ดร.เอกชัย สุมาลี สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ท่านได้บรรยายไว้เกี่ยวมาเล่าให้ท่านผู้อ่านเอาไว้เป็นข้อมูลอัพเดทเรื่องใกล้ตัวที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมใหม่ที่ผู้เขียนเคยเล่าให้ฟังเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมากพอสมควร นั่นคือยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicle)

ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) คืออะไร?

“ยานยนต์ที่มีการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวหรือยานยนต์ที่อาศัยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (สันดาปภายใน) มาใช้งานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อการขับเคลื่อนและผลิตพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมในแบตเตอรี่ หรือเทคโนโลยีการใช้ก๊าซไฮโดรเจนเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิง นำมาเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อน”

ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) แบ่งได้กี่ประเภท?

1 ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV) ประกอบด้วยเครื่องยนต์ลูกสูบเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนหลัก ใช้เชื้อเพลิงที่บรรจุในยานยนต์และทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อเพิ่มกำลังของยานยนต์ให้เคลื่อนที่ ทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นรวมทั้งยังสามารถนำพลังงานกลที่เหลือหรือไม่ใช้ประโยชน์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมในแบตเตอรี่จ่ายให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าต่อไป จากกระบวนการดังกล่าวจึงทำให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่ายานยนต์ปกติ กำลังในการขับเคลื่อนที่ผลิตจากเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้อัตราเร่งของยานยนต์ไฟฟ้าสูงกว่ายานยนต์ลูกสูบที่มีขนาดเดียวกัน

2 ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) เป็นการพัฒนาต่อมาจากยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด ที่สามารถประจุพลังงานไฟฟ้าได้จากแหล่งพลังงานภายนอก (Plug-in) ทำให้ยานยนต์ใช้พลังงานได้พร้อมกันจาก 2 แหล่ง ผลที่เกิดขึ้นยานยนต์จะใช้งานในระยะทางและความเร็วที่เพิ่มขึ้นด้วยพลังงานจากไฟฟ้าโดยตรง

ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV) มีการออกแบบ 2 แบบ คือ

  • EREV : Extended Range Electric Vehicle ทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลักก่อน
  • Blended PHEV : Blended Plug-in Hybrid Electric Vehicle ทำงานผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์และไฟฟ้า

3 ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่มีเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังให้ยานยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่เท่านั้น ดังนั้นระยะทางในการใช้งานของยานยนต์จึงขึ้นอยู่กับการออกแบบขนาดและชนิดของแบตเตอรี่ รวมทั้งน้ำหนักในการบรรทุก

4 ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle : FCEV) เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่มีเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงจากไฮโดรเจน ซึ่งเซลล์เชื้อเพลิงมีค่าความจุพลังงานจำเพาะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงจึงเป็นเทคโนโลยีที่บริษัทรถยนต์เชื่อว่าเป็นคำตอบที่แท้จริงของพลังงานสะอาด (Green Energy) ในอนาคต

วิวัฒนาการของยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicle)

 โดย เตชิต ทิวาเรืองรอง

ข้อมูลอ้างอิง

https://piterblog.onrender.com/happy-new-year-2021-funny-covid.html
https://www.chula.ac.th/academic/school-of-integrated-innovation/
http://www.evat.or.thhttps://www.wired.com/brandlab/2016/03/a-brief-history-of-autonomous-vehicle-technology/