เล่าเคสการจัดการด้าน IT ของฝั่งสาธารณสุข และกรณีศึกษาจาก รพ.สงขลานครินทร์

Share

Loading

เป้าหมายขององค์กรผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข คือ ความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีของผู้รับบริการ รวมถึงการทำงานที่สะดวก ปลอดภัยของบุคลากรในองค์กร การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในภาคสาธารณสุขนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่ต้องเป็นไอทีที่ก้าวล้ำสมัย หรือช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือการดูแลผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้บริการทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และมอบประสบการณ์ที่ทำให้ผู้รับบริการอุ่นใจ และมั่นใจ

นูทานิคซ์เชื่อมั่นว่า เทคโนโลยีคลาวด์คือขุมพลัง จากการสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ล่าสุดของนูทานิคซ์ที่พบว่า 76% ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยระบุว่าไฮบริดคลาวด์เป็นระบบที่เหมาะสมในปัจจุบัน และ 82% ระบุว่าโควิด-19 ทำให้องค์กรของเขาเหล่านั้นยกระดับงานด้านไอทีให้เป็นกลยุทธ์หนึ่งขององค์กร ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกเห็นตรงกันว่าโควิด-19 ได้เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลซึ่งมีแนวโน้มที่จะกำหนดอนาคตของการดูแลสุขภาพ

องค์กรด้านสาธารณสุขจำเป็นต้องบริหารจัดการสี่ความท้าทายสำคัญที่จะช่วยให้สามารถนำไฮบริดคลาวด์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ 1) วัฒนธรรมในองค์กร 2) ความปลอดภัย 3) เทคโนโลยี และ 4) การเงินและการลงทุน

วัฒนธรรมในองค์กร

การเปลี่ยนแปลงในองค์กรขนาดใหญ่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงจะดำเนินการได้อย่างราบรื่น บางครั้งการยอมลดขั้นตอนหรือข้ามกระบวนการบางอย่างที่ปฏิบัติตามกันมาอย่างยาวนานอาจจำเป็น เพื่อปรับตัวให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและทำงานเชิงรุกได้ในภาวะวิกฤต

เทคโนโลยีที่ปลอดภัย

ทีมไอทีจำเป็นต้องสื่อสารให้ชัดเจนถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะตามมา มีแนวทางชัดเจนในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และแผนป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ เพราะข้อมูลผู้ป่วยมีความอ่อนไหวสูง

เราทราบกันดีว่าบันทึกการดูแลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่ามหาศาลในตลาดมืด ดังนั้นผู้รับผิดชอบด้าน

ไอทีจึงต้องปกป้องข้อมูลของผู้ป่วยและพร้อมตลอดเวลาที่จะย้ายข้อมูลไปยังที่ปลอดภัย เช่น ย้ายจาก

พับลิคคลาวด์ไปยังศูนย์ข้อมูลในองค์กร ซึ่งไฮบริดคลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเคลื่อนย้ายข้อมูลไปมาระหว่างคลาวด์ประเภทต่างๆ และเชื่อมต่อการใช้งานคลาวด์ทั้งสองประเภทให้เป็นผืนเดียวกันได้อย่างปลอดภัย

ค่าใช้จ่ายและการลงทุน

ความกังวลด้านค่าใช้จ่ายเป็นอีกความท้าทายที่ต้องมีการบริหารจัดการ การแพร่ระบาดอย่างหนักกระทบต่อผลกำไร โรงพยาบาลส่วนใหญ่ต้องงดให้บริการที่ไม่เร่งด่วนหรือเลื่อนออกไป และจับตาดูต้นทุนการดำเนินงานทุกด้าน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการใช้คลาวด์ที่อาจแอบแฝงอยู่จากการเลือกใช้คลาวด์ไม่ถูกประเภท หรือยึดโยงอยู่กับพับลิคคลาวด์ซึ่งสามารถช่วยให้เริ่มใช้งานได้อย่างรวดเร็วในวันที่เร่งรีบรับมือกับภาวะวิกฤต แต่เมื่อเวลาผ่านไปค่าบริการก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ไม่คุ้มค่าการลงทุนอีกต่อไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่องค์กรส่วนใหญ่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการโยกย้ายการทำงานไปมาระหว่างไพรเวทและพับลิคคลาวด์ตามความเหมาะสมกับลักษณะงานได้อย่างปลอดภัย ผ่านการใช้ไฮบริดคลาวด์จึงเป็นคำตอบที่ใช่ในปัจจุบันและในอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า

สำหรับประเทศไทย หากไม่นับการระบาดของโควิด-19 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบจะเป็นความท้าทายที่ใหญ่มากของภาคสาธารณสุขไทย ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในปี 2564 ประเทศไทยจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งเรียกได้ว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และสำนักงานสถิติแห่งชาติคาดว่าไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี 2565 ซึ่งรัฐบาลไทยได้กำหนดให้สังคมผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือแล้ว

แต่การระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่มาแรงแซงโค้ง และเร่งการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรด้านสาธารณสุข ในประเทศไทยอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีขององค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบและประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้อย่างรอบคอบ

เราได้เห็นว่าได้มีการนำไอทีเข้ามาใช้ในระบบบริการด้านสาธารณสุขไทยมากขึ้น เช่น ด้านเวชระเบียน การรักษาทางไกล บริการทางการแพทย์วิถีใหม่ รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่างๆ เช่น แอปพลิเคชั่นกลางของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) หรือ ไทยชนะ.com และแอปพลิเคชั่นอื่นซึ่งมีการพัฒนาตามกันมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาจกล่าวได้ว่าโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกที่องค์กรด้านสาธารณสุขต้องเผชิญ โดยเฉพาะการรองรับการทำงานจากระยะไกล ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อน

กรณีศึกษา

ประเทศไทยมีเรื่องราวความสำเร็จที่แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขเอาชนะความท้าทาย เช่น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการแพทย์ ศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยด้านการแพทย์ของ 14 จังหวัดในภาคใต้ของไทย ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลใช้โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จของนูทานิคซ์ ซึ่งได้ช่วยให้โรงพยาบาลให้บริการได้ด้วยความยืดหยุ่น สามารถขึ้นระบบใหม่ๆ ที่พัฒนาโดยทีมไอทีของโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว มีความต่อเนื่อง โดยมีส่วนช่วยทั้งในส่วนนักพัฒนา ทีมทดสอบระบบงาน รวมถึงการขึ้นระบบ Production ต่างๆ 

ในช่วงการระบาดของโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนต้องทำงานจากระยะไกลและอาจต้องกักตัว ฝ่ายไอทีของโรงพยาบาลสามารถอำนวยความสะดวกให้บุคลากรเหล่านี้เข้าถึงระบบงานโรงพยาบาลผ่านระบบ VDI ของนูทานิคซ์ ด้วยอุปกรณ์ของบุคลากรเอง ซึ่งยังคงความคุ้นเคย สะดวก และปลอดภัย ในการใช้งานระบบงานโรงพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วย

ท่ามกลางการระบาดระลอกสองในประเทศไทย ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ประเทศไทยก็เหมือนกับทุกประเทศที่ฝากความหวังไว้ที่วัคซีนโควิด และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ก็เป็นส่วนหนึ่งในแผนการแจกจ่ายวัคซีนที่จัดหามาโดยภาครัฐ และได้เตรียมระบบไอทีให้มีความพร้อมสูงสุดเพื่อรองรับกิจกรรมดังกล่าว

ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขต่างตระหนักว่าระบบเทคโนโลยีของตนต้องมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการทำงานจากระยะไกล รวดเร็ว ปลอดภัย และแม่นยำ และต้องพึ่งพาระบบคลาวด์ ปัจจุบันโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ใช้ไพรเวทคลาวด์ของนูทานิคซ์เป็นหลัก ซึ่งในการดำเนินงานด้านไอทีของโรงพยาบาลและภาคสาธารณสุข ไพรเวทคลาวด์เหมาะสำหรับงานบริการที่ต้องการความรวดเร็ว ยืดหยุ่น ปลอดภัย มีปริมาณข้อมูลและธุรกรรมจำนวน ส่วนพับลิคคลาวด์เหมาะสำหรับงานแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างโรงพยาบาล เช่นการสร้างระบบ HIE (Hospital Information Exchange)

อย่างไรก็ตาม ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า คาดว่าโรงพยาบาลจะยังคงใช้ไพรเวทคลาวด์เป็นหลัก และอาจทดลองใช้ไฮบริดคลาวด์ในระบบงานที่เหมาะสม

แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2021/02/23/public-health-it-management/