ต้องยอมรับว่า ห้วงเวลานี้ คือ “ยุคเปลี่ยนผ่าน” อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการศึกษา ฝึกอบรม สัมมนาทางวิชาการ ไปจนถึงบริษัท Consult
ที่ว่าเป็นยุค New Normal นั้น ผมว่าในเมืองไทยบ้านเรานี้ New Normal ยังมาไม่ถึง เพราะยังไม่ผ่านขั้นตอน Lockdown และวัคซีน COVID ก็ยังมีไม่เพียงพอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทยยังก้ำๆ กึ่งๆ ระหว่างระบบการศึกษาแบบ Classical Classroom หรือการจัดการศึกษาแบบดั้งเดิม มีครูยืนหน้าชั้นหันหน้าเข้าหานักเรียน
99% ของการจัดการศึกษา ฝึกอบรม สัมมนา เป็น Classical Classroom มีเพียง 1% ที่จัดการศึกษาผ่านระบบ Online อย่างเต็มรูปแบบ (ช่วงก่อน COVID)
1% ที่ว่าก็คือ Digital Classroom หรือห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่าน Platform การเรียนแบบ Online
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุค COVID ที่มีการ Lockdown หน่วยราชการ และธุรกิจกันในหลายประเทศ ผู้ใหญ่ Work from Home 100% เด็กๆ ก็เรียน Online 100%
อย่างไรก็ดี ผมคิดว่า สิ่งที่เหมาะสมที่สุดของสังคมไทยในแง่การจัดการศึกษาก็คือการนำแนวคิด Blended Learning มาปรับประยุกต์ใช้กับระบบการศึกษาบ้านเรา
เพราะ Blended Learning ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงจุดร่วม-สงวนจุดต่างระหว่าง Lecture-Based Learning กับ Online-Based Learning
Online-Based Learning นั้นคือ Digital Classroom ส่วน Lecture-Based Learning ก็คือ Classical Classroom รวมกันกลายเป็น Blended Learning
Blended Learning คือส่วนผสมที่กลมกล่อมระหว่างห้องเรียนแบบ Face-to-Face กับระบบการเรียนการสอนแบบ Virtual Classroom หรือ “ห้องเรียนเสมือน”
เป็นการประนีประนอมระหว่างครูอาวุโสแบบดั้งเดิม ที่คุ้นเคยกับรูปแบบ Lecture-based Learning กับครู Gen ใหม่ที่เติบโตมากับ Online-based Learning
เนื่องจาก Blended Learning นั้น แม้ว่าจะส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ Online ด้วยการยืดเวลาให้นิสิตสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ทุกเวลา ทุกสถานที่ ผ่านสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ อย่างต่อเนื่อง ทว่า Blended Learning ก็ยังสนับสนุนการพบปะสังสรรค์กันในห้องเรียน
ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้สอนกับผู้สอน ผู้สอนกับผู้บริหาร ผู้เรียนกับผู้บริหาร ผู้สอนกับผู้ปกครอง ผู้บริหารกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองกับผู้เรียน
Blended Learning มีหลายวัตถุดิบ และหลายสูตร ตัวอย่างเช่น STEM Education ก็เป็นการ Blended กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เข้าด้วยกันแบบหนึ่ง
PLC (Professional Learning Community) หรือ CoP (Community of Practice) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือชุมชนนักปฏิบัติ ก็เป็นการ Blended
การนำครูจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกันมาเข้ากลุ่มกัน MTSS (Multi-Tiered System of Supports) คือแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน
และนำบุคลากรสายสนับสนุนให้เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอน คล้ายการเรียนคละชั้น Flipped Classroom หรือห้องเรียนกลับด้าน ก็เป็นการ Blended
หรือการผสมผสานการเรียนในห้องเรียนกับการศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนเข้าด้วยกัน ผ่านรูปแบบ Online + Off-line ก็เป็นรูปแบบของ Blended Learning
เห็นได้จากในปัจจุบันมีแนวโน้มการนำแนวคิด Blended Learning มาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากในยุคเปลี่ยนผ่านดังกล่าว หรือเรียกว่ายุคผสมผสาน
ที่มีการผสมผสานระหว่างครูสองรุ่นคือครูอาวุโสกับครูรุ่นใหม่ ผ่านการบูรณาการระหว่างการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนกับการให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์
Blended Learning คือการค้นหาประสิทธิภาพเครื่องมือเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และสร้างสมดุลในเรื่องของการใช้เวลาในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการศึกษา ฝึกอบรม สัมมนา รวมไปถึงบริษัทให้คำ ปรึกษา หรือ Consultant Company ที่ทุกวันนี้ประสบปัญหาการเรียนแบบ Off-line
จากประสบการณ์ที่ผมเคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั้งอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษ ในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งของภาครัฐ และของเอกชน กว่า 20 ปี
โดยปัจจุบันก็ยังประกอบอาชีพจัดการเรียนการสอน ผ่านการจัดฝึกอบรม จัดสัมมนาทางวิชาการ คำปรึกษาสถานประกอบการ และวินิจฉัยสถานประกอบการ
ในยุค COVID ที่การจัดอบรมแบบ Off-line หรือ Face-to-Face แทบเป็นไปไม่ได้จากการ Lockdown ทำให้หลายฝ่ายต้องค้นหาช่องทางแก้ปัญหาการจัดอบรม
ด้วยการนำระบบ Online มาใช้ในการจัดฝึกอบรม สัมมนา และจัดการเรียนการสอน ประเมินผลการจัดการฝึกอบรม รวมถึงการให้คำปรึกษาสถานประกอบการ
ในช่วง COVID ที่หลายฝ่ายกำลังเร่งหาทางออกเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม การจัดสัมมนาทางวิชาการ ผ่านระบบ Online ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย
จึงมีการคิดค้น Diagram ขึ้นมาตัวหนึ่ง เพื่อทำการสำรวจสภาพปัจจุบันของหลักสูตร ผู้เรียน เครือข่าย รูปแบบการจัดการเรียนการสอน และระยะเวลาการทำงาน
ตั้งชื่อไว้ว่า Training Business Marketing Matrix วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานะปัจจุบันขององค์กร และคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
ประกอบด้วย
1 สำรวจจำนวนลูกค้า (Customer) คือการสำรวจและรวบรวม (จัดเก็บ) ลงฐานข้อมูลลูกค้าองค์กร เพื่อสะดวกในการแก้ไขปรับปรุง ลบ หรือเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต โดยแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น
- 1.1 ลูกค้าปัจจุบัน (Legacy)
- 1.2 ลูกค้าใหม่ (Future)
2 สำรวจหลักสูตร (Course) คือการสำรวจและรวบรวม (จัดเก็บ) ลงฐานข้อมูลหลักสูตรองค์กร เพื่อสะดวกในการแก้ไขปรับปรุง ลบ หรือเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต โดยแบ่งกลุ่มหลักสูตรออกเป็น
- 2.1 หลักสูตรที่มีอยู่ (Off-line)
- 2.2 หลักสูตรใหม่ (Online)
3 การสร้าง Network ใหม่ คือการต่อยอดและผสมผสานฐานลูกค้า ระหว่างกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน กับกลุ่มลูกค้าใหม่ เพื่อผนึกผนวกและสร้างเป็นฐานเครือข่ายลูกค้าในอนาคต
4 การสร้าง Platform ใหม่ คือการต่อยอดและผสมผสานฐานหลักสูตร ระหว่างหลักสูตรที่มีอยู่ กับหลักสูตรใหม่ เพื่อผนึกผนวกและสร้างเป็น Platform หลักสูตรในอนาคต
5 กรอบเวลาในการจัดการฝึกอบรม เป็นการกำหนด Time Frame ตั้งแต่ต้นน้ำคือการสำรวจฐานลูกค้าเก่า-ใหม่ ฐานหลักสูตรเก่า-ใหม่ การเดินไปสู่การเป็นฐานเครือข่ายลูกค้า และ Platform หลักสูตรใหม่ในอนาคต
ถือเป็น Training Business Marketing Matrix หรือ “ตารางการตลาดธุรกิจฝึกอบรม”
เป็น Model ใหม่ในยุค 5.0 ที่อนุญาตให้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ครับ
แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2021/08/23/training-business-marketing-matrix/