อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub Industry) หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S-Curve ต่อจาก First S-Curve หรือ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ
เป็นที่ทราบกันดี ว่าทุกวันนี้ วิทยาการด้านการแพทย์ของโลกเจริญรุดหน้ามาก โดยไทยเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีฝีมือ มีชื่อเสียงติดอันดับโลกจำนวนมาก อีกทั้งโรงพยาบาลของไทยก็เป็นเป้าหมายของชาวต่างชาติจำนวนมาก ทำให้ภาครัฐเล็งเห็นศักยภาพจึงกำหนดให้มีนโยบายอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรขึ้น
ในปัจจุบัน วงการแพทย์ระดับสากล ก้าวข้ามศาสตร์แห่งการรักษาสุขภาพ (Sickness Treatment) มาสู่ศาสตร์แห่งการป้องกันโรค (Wellness Being) กันเป็นจำนวนมาก การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร นำไปสู่การเป็น Medical Hub ของไทยในยุค Thailand 4.0 จึงเป็นไปเพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ S-Curve ซึ่งเน้นไปที่การเป็น Wellness Hub เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกลไกการตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เกื้อหนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งหมด
การผลักดันให้ไทยก้าวสู่ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub Industry) นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้เกิด Wellness Society หรือการแพทย์ยุคใหม่ ในศาสตร์แห่งการป้องกันโรคที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งแล้ว ยังเป็นผสานกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ตัวอย่างของ Wellness Society ระดับโลก ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ก็มีอาทิ
Long Stay, Long Term Care, Nursing Home, Spa, Wellness Tourism, Aging and Intermediate Care
โดยการเป็น Academic Hub ที่สำคัญนั้นได้แก่ การพัฒนา Training Center หลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ (Global Doctor) International Course Training-Under and Post Graduate แพทย์ พยาบาล Family Medicine และ Internet Course of Occupational Medicine (ICOM)
นอกจากนี้ เป็นที่ทราบกันดีในแวดวง Wellness Society ว่าอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร นั้น โดยปกติ จะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนด้วยกัน กล่าวคือ
1 การให้บริการทางการแพทย์ยุคใหม่ (e-Health and m-Health)
การให้บริการทางการแพทย์ยุคใหม่ คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการเชื่อมต่อข้อมูล โดยเฉพาะระบบเวชระเบียนอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Medical Records: EMRs) เน้นไปที่การให้คำปรึกษาทางการแพทย์และให้บริการรักษาทางไกลกับผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ และเพื่อเป็นทางเลือกแทนการเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือค่าธรรมในการรักษาที่สูงหรือเพื่อให้บริการผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล
2 การวิจัย และการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและติดตามผลระยะไกล (Remote Health Monitoring Devices)
การวิจัย และการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและติดตามผลระยะไกล มีรากฐานมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับ หรือ Sensors และอุปกรณ์การวัดสมัยใหม่ที่ทันสมัยขึ้น
โดยอุปกรณ์วินิจฉัยและติดตามผลระยะไกลสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง เช่น วัดความดันโลหิต วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
3 การวิจัยยา และเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะการผลิตยาที่ทันสมัย (Research and Development)
การวิจัยยา และเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะการผลิตยาที่ทันสมัย เป็นไปเพื่อลดกระบวนการและลดระยะเวลาการทดลองยาสมัยใหม่ โดยจะมุ่งเน้นที่การผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilar)
เป็นที่ทราบโดยทั่วไปในวงการเภสัชกรรม ว่าการผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง ก็คือยาสามัญของยาชีววัตถุต้นแบบ (Biologic) ที่มีการวิจัยและจดสิทธิบัตรแต่สิทธิบัตรหมดอายุลงแล้ว ซึ่งปัจจุบันยาชีววัตถุมีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีขนาดใหญ่กว่ายาสามัญทั่วไป
โดยหากกล่าวถึง อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub Industry) ที่เป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ได้ดำเนินการขอรับการส่งเสริมเป็นเขตส่งเสริมพิเศษทางการแพทย์ ในพื้นที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ซึ่งมีขนาดพื้นที่รวมทั้งสิ้น 566 ไร่ วางเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมส่งเสริมด้านนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาศูนย์นวัตกรรมทางด้านการแพทย์ (Medical Hub) และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต (Next Generation Automotive) และอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Hub) ซึ่งเป็นหนึ่งใน “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษการแพทย์ครบวงจร” หรือ (EECmd) เพื่อการพัฒนาศูนย์นวัตกรรมด้านการแพทย์อย่างครบวงจร
นอกจากนี้ ยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบของประเทศไทย หรือ Thailand 4.0 ในอนาคตนั่นเองครับ
แหล่งข้อมูล