เบื้องหลังเทคโนโลยีรถ EV เมื่อความจุแบตเตอรี่ คือจุดอ่อน

Share

Loading

EV หรือ Electronic Vehicle ถือเป็นรูปแบบใหม่ของการเดินทางในอนาคต มันได้รับความนิยมมากขึ้น จากการที่หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการรักษาระบบนิเวศมากขึ้น และรถยนต์แบบดั้งเดิมถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างคาร์บอนไดออกไซร์มหาศาล ฉะนั้นรถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกใหม่เพื่อช่วยโลกนี้ครับ

แต่สิ่งที่ยังเป็นจุดอ่อนของรถยนต์ไฟฟ้านั่นคือแบตเตอรี่ แม้ปัจจุบันจะมีรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดที่ราคาไม่แพงจนเกินไปและสามารถวิ่งเป็นระยะทาง 400 กม. หรือแม้แต่ 500 กม. ต่อการชาร์จแบตหนึ่งครั้ง รวมทั้งสถานนีชาร์จที่เพิ่มากขึ้นแล้วก็ตาม แต่การขับรถไฟฟ้าด้วยระยะทางไกล หรือไปในที่ที่ไม่มีสถานีชาร์จก็ยังเป็นเรื่องน่าหนักใจของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าครับ

ในประเทศไทยเอง ต้องยอมรับว่าสถานนีชาร์จนั้นยังมีไม่มากพอ และส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ รวมทั้งการชาร์จนั้นอาจใช้เวลานานจนอาจต้องต่อคิว พร้อมกฎหมายไทยมี่เรียกเก็บภาษีที่แพงเอาเรื่อง ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก

ในบางประเทศ ได้มีความพยายามในการลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายคาบอร์นเป็นศูนย์ภายในปี 2030 ซึ่งดู ๆ ไปแล้วก็เป็นการดีครับ แต่ท้ายที่สุด ปัญหาของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือเรื่องของแบตเตอรี่อยู่ดี ผู้ใช้ต้องวางแผนในการเดินทาง และอาจรู้สึกกังวลใจมากกว่าการขับรถเครื่องยนต์สันดาปแบบเดิม จากว่าจะมีการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีความจุเยอะขึ้นและชาร์จได้เร็วกว่า แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่หลายบริษัทนิยมใช้ในปัจจุบัน

ไม่นานมานี้ ก็มีข่าวว่า Toyota กำลังพัฒนาแบตเตอรี่ที่จะใช้ใน Toyota’s LQ คอนเซ็ปต์รถยนต์ไฟฟ้าที่เปิดตัวเมื่อสองปีก่อน ซึ่งจะเปลี่ยนจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนไปเป็นแบตแบบโซลิดสเตต มีความจุมากกว่าและชาร์จได้เร็วกว่าหลายเท่าตัว ซึ่งต้องรอดูว่า Toyota จะทำได้จริงไหมครับ

*** ทั้งนี้ ในอดีตมีการวาดฝันว่า หากมีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งบนถนน ก็ทำให้ถนนมันสามารถชาร์จไปได้เลย ทีนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าแบตจะหมดเมื่อไหร่ แต่แนวคิดดังกล่าวเหมือนจะใช้งบประมาณที่สูงมากเพื่อที่จะลากสายไฟไปบนถนนที่เป็นระยะทางหลายกิโลครับ ทำให้มันยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก

แต่วันนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ต้องของคุณไอเดียจากนักวิจัยจากมหาลัย Purdue ในรัฐอินเดียนาของสหรัฐอเมริกาทีมจากบริษัท Magment ของเยอรมนี ที่พยายามจะสร้างถนนชาร์จได้ให้เกิดขึ้นจริง

เทคนิคที่ Magment จะใช้ ก็คือการเพิ่มอนุภาคเฟอร์ไรต์ (แม่เหล็ก) เล็กๆ น้อยๆ ลงในส่วนผสมคอนกรีต ซึ่งจะทำให้คอนกรีตนั้นถูกทำให้เป็นแม่เหล็กโดยปริยาย และหากเราอัดกระแสไฟฟ้าผ่านตัวถนนไป มันสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องชาร์จแบบเหนี่ยวนำ เช่นเดียวกับกับการชาร์จโทรศัพท์ไร้สาย ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว หากเราคิดแผ่นชาร์จไว้ที่ด้านล่างของรถ ประจุนั้นก็จะส่งผ่านไปยังรถและเติมแบตเตอรี่ได้ครับ

Magment อ้างว่าแท่นชาร์จคอนกรีตสามารถรองรับพลังงานได้ต่ำถึง 200 วัตต์ซึ่งจะทำให้การชาร์จเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมันกำลังถูกทดสอบที่มหาวิทยาลัย Purdue ในอีกไม่นานนี้ครับ

แน่นอนว่าแนวคิดที่ว่านี้ จะใช้ต้นทุนที่ถูกกว่าแนวคิดอื่นในอดีต ที่อาจนำแม่เหล็กทั้งหมดมาสร้างเป็นถนน หรือใช้การลากสายไฟเรียบถนนที่อาจต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล และหากทฤษฏีดังกล่าวได้ผล มันจะสามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมการขนส่งได้อีกมากครับ

แหล่งข้อมูล

https://www.techhub.in.th/behind-ev-technology-when-battery-capacity-is-the-weak-point/