3 สุดยอดผลงานนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า (กฟผ.)

Share

Loading

พลังงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ และยิ่งโลกมีความต้องการที่จะพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าไหร่ การใช้พลังงานก็จะยิ่งมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเท่าได้ ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนพลังงาน ตลอดจนเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ โจทย์สำคัญที่ทั่วโลกกล่าวถึงก็คือ เราจะทำอย่างไรให้มีพลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของโลกในอนาคต

EGAT Smart Energy Solutions

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีการนำเสนอนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า “EGAT Smart Energy Solutions” เอาไว้ในงาน World Expo ระหว่างวันที่ 20 ก.พ. – 8 มี.ค. 2565 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดังนี้

1 นวัตกรรม REX Platform

จากความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญต่อการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ทั้งการเลือกใช้ไฟฟ้า ที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ในชั่วโมงเดียวกับการใช้ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริง กฟผ. จึงได้พัฒนา REX Platform เพื่อตอบโจทย์ การส่งมอบพลังงานสะอาด รายชั่วโมงดังกล่าวด้วยกลไก Renewable

ดร.จิราพร ศิริคำ
รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

Energy Certificate (Time-based REC) โดย กฟผ. ได้พัฒนา“โครงการนำร่องการส่งมอบพลังงานหมุนเวียนรายชั่วโมงด้วย REC (24/7 REC pilot project)” เพื่อทดสอบการส่งมอบ Time-based REC ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้า การจับคู่ (Matching) การรับรอง (REC Issuance) และการไถ่ถอน (REC Redemption) แบบอัตโนมัติ กับมาตราฐาน The International REC Standard (I-REC) การสนับสนุนการเข้าถึง พลังงานสะอาดในระดับรายชั่วโมงดังกล่าว ไม่เพียงส่งเสริม การพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน แต่ยังเป็นการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานด้วย โดย กฟผ. มีแผนนำโครงการกักเก็บพลังงานต่างๆ ในระบบส่งของ กฟผ. เข้าสนับสนุนการส่งมอบพลังงานสะอาดให้ผู้เข้าร่วมโครงการด้วย เพื่อเร่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality 2050

2 Hydro-Floating Solar Hybrid Power Plant

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยโชว์ความสำเร็จล่าสุดของ กฟผ. กับโซลาร์เซลล์ลอยน้ำระบบไฮบริดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ในตัวโครงการทุ่นลอยน้ำ กฟผ. มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงาน Hybrid-EMS (Hybrid-Energy Management System) ควบคุมโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้ง 2 แหล่ง(พลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์)ให้ผลิตและจ่ายไฟฟ้าตามศักยภาพของพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น โครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี ช่วยลดการระเหยของน้ำในเขื่อนได้ 460,000 m3/ปี ในอนาคต กฟผ. มีแผนที่จะพัฒนาโครงการฯ รวม16โครงการ บนพื้นที่ผิวน้ำของเขื่อนหลัก กฟผ. ทั่วประเทศ รวมกำลังการผลิตทั้งหมด 2,725 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ กฟผ. ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนโดยรอบ ได้มีการสร้างทางเดินชมธรรมชาติ (Nature walkway) ให้ประชาชนสามารถชมวิวโครงการฯ ช่วยสร้างอาชีพเสริมรายได้ให้กับชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดในภาพรวมต่อไป

3 ผลงานนวัตกรรมด้าน EGAT Business Solutions

กฟผ. นำโครงการด้าน EGAT Smart Energy ไปจัดแสดง จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

  • โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) ที่ กฟผ. ได้รับอนุมัติจาก กกพ. ให้ร่วมส่งเสริมรูปแบบธุรกิจใหม่ด้านพลังงานและสนับสนุนให้เกิดการทดสอบเทคโนโลยีทางด้านพลังงานในสภาพแวดล้อมของการใช้งานจริง โดยมี โครงการ TU EGAT Energy โครงการศรีแสงธรรมโมเดล และโครงการ ENGY Energy is Yours
  • โครงการ ENZY หรือ ENZY Platform (Easy ways to save energy) อย่างไรก็ตามกฟผ. ก้าวเข้าสู่การให้บริการ Platform เพื่อช่วยบริหารจัดการพลังงานกับผู้ที่ต้องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าไฟฟ้า โดยติดตั้งอุปกรณ์ IoTs ที่มีเสถียรภาพ ติดตั้งง่าย ต้นทุนไม่สูง สำหรับติดตาม และพยากรณ์การใช้พลังงานไฟฟ้า พร้อมให้คำแนะนำการลดปริมาณการใช้พลังงาน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการพลังงานร่วมกับเทคโนโลยี AI ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งบน web Application และ Mobile โดยปัจจุบันนำร่องใช้งาน ENZY Platform แล้วที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 3 ในพื้นที่เขต EEC และอยู่ระหว่างขยายบริการไปยังอาคาร สำนักงาน และบ้านพักอาศัย

เครดิตรูปภาพ www.pixabay.com

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม www.banmuang.co.th

เรียบเรียงโดย Security Systems Magazine