นาซาเปิดหลอดบรรจุหิน-ก๊าซจากดวงจันทร์ที่ผนึกสุญญากาศไว้ 50 ปี ออกมาตรวจสอบครั้งแรก

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

แม้ว่าภารกิจอะพอลโล่ทั้ง 17 ครั้ง ในช่วงทศวรรษ 1960-1970 จะได้นำตัวอย่างหินจากดวงจันทร์กลับมายังโลกมากมายถึง 2,197 ตัวอย่าง แต่องค์การนาซาเพิ่งจะเริ่มลงมือเปิดหลอดเก็บตัวอย่างเหล่านั้นออกมาทำการศึกษา โดยเริ่มจากหลอดตัวอย่างที่เก็บมาหลังสุดในภารกิจอะพอลโล่ 17 เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน

หลอดที่ถูกเปิดออกดังกล่าวคือตัวอย่างหมายเลข 73001 ซึ่งเป็นหนึ่งในสองหลอดที่ผ่านการผนึกสุญญากาศตั้งแต่อยู่บนดวงจันทร์ โดยนักบินอวกาศ ยูจีน เซอร์นัน และแฮริสัน ชมิตต์ เป็นผู้ลงมือเก็บตัวอย่างหินและก๊าซนี้ไว้เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1972

หลอดดังกล่าวมีขนาดไม่ใหญ่นัก โดยมีความยาว 37 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร หลอดนี้ถูกตอกลงไปในพื้นผิวดวงจันทร์เพื่อเก็บตัวอย่างดินและหินขึ้นมา ซึ่งอาจจะมีก๊าซบางอย่างที่เป็นองค์ประกอบ รวมทั้งสสารที่ระเหยเปลี่ยนแปลงง่ายอย่างเช่นน้ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์ปะปนติดมาด้วย

จุดประสงค์ของการเปิดหลอดเก็บตัวอย่าง 73001 ในครั้งนี้ ก็เพื่อศึกษาวิเคราะห์แร่ธาตุที่พบบนดวงจันทร์ โดยใช้เครื่องมือตรวจจำแนกสารที่มีความทันสมัยและแม่นยำมากที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัวอย่างที่มีโมเลกุลน้ำหรือก๊าซบางชนิดปะปนมาในปริมาณต่ำมาก

“นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมนาซาจึงเก็บตัวอย่างหินจากดวงจันทร์เอาไว้นานถึงหลายสิบปี นั่นก็เพราะต้องรอคอยการพัฒนาเทคโนโลยีวิเคราะห์สารในอนาคต ซึ่งจะเหมาะสมกับการตรวจสอบที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้มากกว่า” ลอรี เกลซ ผู้อำนวยการแผนกวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ขององค์การนาซากล่าว

ขั้นตอนแรกของการเปิดหลอดเก็บตัวอย่างนี้ เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ถอดเอาปลอกชั้นนอกที่ครอบรักษาความปลอดภัยให้หลอดเก็บตัวอย่างออกก่อน ซึ่งก็ไม่พบร่องรอยของก๊าซใด ๆ อยู่ในปลอกชั้นนอกนี้ แสดงว่าหลอดเก็บตัวอย่างยังคงถูกปิดผนึกอยู่อย่างแน่นหนาเรียบร้อยดี

ต่อมาในช่วงปลายเดือน ก.พ. นักวิทยาศาสตร์ของนาซาได้เริ่มเจาะหาตัวอย่างก๊าซจากภายในหลอด ซึ่งขั้นตอนนี้จะกินเวลานานหลายสัปดาห์กว่าจะเสร็จสิ้น ก่อนจะนำเอาตัวอย่างหินออกมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิปลายเดือนมี.ค.- เม.ย. เพื่อแบ่งให้กับนักวิทยาศาสตร์ทีมต่าง ๆ แยกกันนำไปศึกษาวิเคราะห์

ดร. จูเลียน กรอสส์ ภัณฑารักษ์ของภารกิจอะพอลโล่บอกว่า “ตัวอย่างหินในหลอดหมายเลข 73001 เก็บมาจากพื้นด้านล่างของหุบเขา Taurus-Littrow ซึ่งเป็นบริเวณที่มีร่องรอยของดินถล่ม แต่ปัจจุบันนี้บนดวงจันทร์ไม่มีลมและฝนที่จะทำให้เกิดดินถล่มตามธรรมชาติได้ จึงน่าสงสัยว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เราหวังว่าตัวอย่างหินที่เก็บมานี้จะให้คำตอบได้”

สำหรับตัวอย่างในหลอดอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้เปิด ทีมนักวิทยาศาสตร์ของนาซาบอกว่าอาจต้องรอไปอีก 50 ปี กว่าที่จะมีการเปิดออกเพื่อศึกษาอีกครั้ง เพราะจะเป็นการดีกว่าหากจะรอตัวอย่างหินชุดใหม่จากภารกิจอาร์ทีมิส เพื่อนำมาทำการเปรียบเทียบและวิเคราะห์เสียพร้อมกันในครั้งเดียว ซึ่งภารกิจอาร์ทีมิสนั้นจะส่งมนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งในปี 2025

แหล่งข้อมูล

https://www.bbc.com/thai/international-60727046