เทคโนโลยีใหม่ ซีเมนต์กินได้ทำจากเศษอาหาร

Share

Loading

เวลาเกิดภัยพิบัติ สิ่งที่ผู้คนต้องการคือที่พักพิง แต่สิ่งนี้ก็มีต้นทุนสูง นัยวิจัยชาวญี่ปุ่นจึงคิดค้น ซีเมนต์กินได้ ทำจากเศษอาหาร นอกจากช่วยผู้คนแล้วยังช่วยโลกได้ด้วย

เพื่อการก่อสร้างที่ยั่งยืน ซีเมนต์ในปัจจุบันมีส่วนผสมจากทรัพยากรธรรมาชาติหลายอย่าง และไม่สามารถรีไซเคิลหรือใช้ประโยชน์ใหม่ได้ และปัญหาของเศษอาหารเหลือทิ้ง ที่ยังคงเป็นปัญหาของสิ่งแวดล้อมไม่จบไม่สิ้น ซึ่งก็ได้สร้างความท้าทายให้กับนักวิจัยในการคิดค้นวิธีที่จะกำจัดเศษอาหารเหลือทิ้งให้ยั่งยืน รวมไปถึงทำยังไงให้ซีเมนต์สามารถย่อยสลายได้

เกริ่นมาขนาดนี้แล้ว ก็ต้องบอกเลยว่า เศษอาหารเหลือทิ้งสามารถนำมาแปรรูปเป็นซีเมนต์สำหรับก่อสร้างได้แล้ว แถมกินได้ด้วย ด้วยความสามารถของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวได้พัฒนาเทคโนโลยีที่จะสามารถเปลี่ยนเศษอาหารประเภทใดก็ได้ให้กลายเป็นซีเมนต์ที่กินได้สำหรับใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งมีกำลังรับแรงดึงได้ถึง 4 เท่าของคอนกรีตธรรมดาในปัจจุบัน

ความคิดนี้ได้ริเริ่มด้วยความปรารถนาดีที่หวังจะช่วยลดภาวะโลกร้อน เศษอาหารเหลือทิ้งส่วนใหญ่ที่ทิ้งลงถังขยะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วยการปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศระหว่างการย่อยสลาย นอกจากนี้ การผลิตปูนซีเมนต์สำหรับการก่อสร้างเองก็ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมากถึง 8% แถมยังใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลด้วย

ด้วยหตุนี้เอง Yuya Sakai รองศาสตราจารย์ด้าน Industrial Science และลูกศิษย์ของเขา Koto Machida ก็ได้ทำการวิจัยเพื่อค้นหาวัสดุที่ยั่งยืนที่จะสามารถนำมาแทนที่ปูนซีเมนต์ในปัจจุบันได้

ในตอนแรก Sakai ได้พัฒนาวิธีการทำคอนกรีตโดยการอัดอนุภาคไม้ด้วยความร้อน กระบวนการนี้มีสามขั้นตอน คือ การทำให้แห้ง การบดเป็นผง และการบีบอัด เขาใช้เครื่องผสมและคอมเพรสเซอร์แบบธรรมดาที่หาซื้อได้จาก Amazon แต่ต่อมา Sakai กับลูกศิษย์ Kota Machida ได้ลองใช้วิธีการเดียวกันกับเศษอาหารดู

ผลปรากฏว่า ในการทดลองครั้งแรก พวกเขาต้องใช้พลาสติกเพื่อทำให้เศษอาหารซีเมนต์รับแรงดึงได้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม หลังจากหลายเดือนของการทดลอง พวกเขาลงเอยด้วยซีเมนต์เศษอาหารบริสุทธิ์ เพียงปรับอุณหภูมิและความดันที่ใช้ในกระบวนการ แต่ความยากคือ ขยะอาหารแต่ละประเภทต้องการอุณหภูมิและระดับความดันที่แตกต่างกัน

และสุดท้าย นักวิจัยสามารถทำซีเมนต์โดยเลือกใช้ใบชา เปลือกส้ม หัวหอม กากกาแฟ กะหล่ำปลีจีน และแม้กระทั่งกล่องอาหารกลางวันที่เหลือในบางวัน พวกเขายังสามารถปรับรสชาติของผลิตภัณฑ์และให้สีต่างๆ ได้อีกด้วย ว่ากันว่าปูนจะกินได้หลังจากแตกเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปต้ม

Sakai กล่าวว่าปูนซีเมนต์สามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างบ้านชั่วคราวเพื่อการอพยพ โดยที่ปูนซีเมนต์ดังกล่าวสามารถเปลี่ยนเป็นอาหารได้หากเสบียงหมด “ยกตัวอย่างเช่น หากไม่สามารถส่งอาหารให้ผู้อพยพได้ พวกเขาก็สามารถกินที่นอนชั่วคราวที่ทำจากปูนซีเมนต์ได้” เขากล่าว

เพื่อให้ซีเมนต์นั้นกันซึมหรือรั่ว ผู้ใช้ก็สามารถทาเคลือบแล็กเกอร์ญี่ปุ่นได้ และแนะนำว่าวิธีทางเคลือบแกเกอร์ยังสามารถป้องกันหนูมาแทะหรือกัดกินหรือป้องกันมาแมลงศัตรูพืชมากินได้ด้วย หากนำซีเมนต์เหล่านี้มาใช้เราจะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองการสร้างบ้านชั่วคราวที่ต้องใช้พลาสติกหรือซีเมนต์อื่น ๆ ที่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม อีกทั้งซีเมนต์ที่พวกเขาผลิตขึ้นนี้ยังเป็นเครื่องมือในการลดภาระขยะที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกได้ด้วย

เศษอาหารเป็นปัญหาใหญ่ในญี่ปุ่นและทั่วโลก ญี่ปุ่นผลิตเศษอาหารที่กินได้ประมาณ 5.7 ล้านตันในปี 2019 และรัฐบาลตั้งเป้าที่จะลดจำนวนขยะดังกล่าวให้เหลือ 2.7 ล้านตันภายในปี 2030

Machida ก่อตั้งบริษัทชื่อ Fabula Inc. เมื่อปีที่แล้วกับเพื่อนสมัยเด็กสองคน พวกเขากำลังทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ เพื่อผลิตถ้วย ช้อนส้อม และเฟอร์นิเจอร์จากปูนซีเมนต์สำหรับอาหาร

โดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีตัวนี้ได้สร้างปูนซีเมนต์สำหรับที่พักพิงชั่วคราวเท่านั้น เช่น การเผชิญหน้ากับภัยพิบัติ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องไปสิ้นเปลืองงบประมาณกับวัสดุอื่น ๆ ที่ย่อยสลายไม่ได้และต้นทุนราคาสูง สิ่งนี้จะช่วยให้การทำที่พักพิงชั่วคราวมีประโยชน์ในตัวมันเองสูงสุดและสามารถช่วยโลกและผู้คนไปพร้อมกันได้

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/spring-life/825782