Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
ไอเดียรักษ์โลกสุดครีเอท ซึ่งช่วยลดปัญหาได้ถึง 2 อย่างในคราวเดียวทั้งขยะฟองน้ำ และขยะผักตบชวา กลายเป็น “ฟองน้ำจากผักตบชวา” มาจากแนวคิดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน ของเด็กรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับโลกสีเขียวและสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
ปัญหาขยะและของเหลือใช้ เป็นปัญหาที่กำลังคุกคามสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก การรณรงค์ให้มีการลดขยะโดยเฉพาะจากภาคครัวเรือน ที่ผ่านมาประสบปัญหาไม่น้อย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานในชีวิตประจำวันส่วนหนึ่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำกลับมารีไซเคิลได้ แนวความคิดในการใช้วัสดุชีวภาพมาทดแทนวัสดุสังเคราะห์ที่ย่อยสลายยาก จึงได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่เริ่มมีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน
“ฟองน้ำจากผักตบชวา” ผลิตจากเส้นใยของผักตบชวา เป็นไอเดียที่ตีโจทย์แนวคิดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมองจากปัญหาขยะฟองน้ำในครัวเรือนที่ต้องใช้แล้วทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ เอามาจับคู่กับปัญหาผักตบชวาล้นคลองที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดปัญหาการสัญจรในแม่น้ำ และคูคลอง” อภิชญา วงศ์เจริญวาณิชย์ (จีจี้) บัวบูชา ตัญฑโญภิญ (บัว) สิรินัดดา เอกชัย (โจดี้) และ ธนัชญา พานิชชีวะ (ธัญญ่า) อายุ 17 ปี จากรั้วโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ซึ่งฟอร์มทีม TrillionX เข้าแข่งขันในโครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมคว้ารางวัลชนะเลิศ มาร่วมบอกเล่าประสบการณ์การแข่งขันให้ฟัง
โครงการฟองน้ำจากผักตบชวา เริ่มแรกมาจากช่วงปิดเทอม ทางกลุ่มต้องการหาประสบการณ์การแข่งขันจึงหาโครงการประกวดดู แล้วมาเจอการแข่งขันแบบ Hackathon ของโครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่มีโจทย์ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงประเด็นรอบด้านของเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่น่าตื่นเต้นมากสุดคือการมีผู้เข้าแข่งขันมาจาก 6 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย มาเข้าร่วมเวิร์คช้อปที่ทำให้เราได้เห็นไอเดียของเพื่อนๆ จากประเทศอื่นๆ ด้วย ซึ่งเก่งมาก และมีแรงบันดาลใจหลายอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีเมนเทอร์มาช่วยให้คำแนะนำในการต่อยอดแนวคิดของเราให้สามารถแก้ปัญหาได้จริงอีกด้วย ซึ่งเราลงแข่งในโครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและนวัตกรรมทางสังคม (Circular Economy and Innovation)” บัวบูชา เล่า
ธนัชญา เสริมว่า “จากที่เราไปศึกษาข้อมูลมา แต่ละครัวเรือนมีการเปลี่ยนฟองน้ำล้างจานที่ใช้ในบ้าน ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง และประเทศไทยมีครัวเรือนประมาณ 19 พันล้านครัวเรือน ซึ่งหมายความว่า มีการใช้ฟองน้ำพลาสติกประมาณ 4 พันล้านชิ้นในแต่ละเดือน ซึ่งจะกลายมาเป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เนื่องจากฟองน้ำส่วนใหญ่ทำมาจากโฟมโพลียูรีเทน หรือยางโฟม หรือไมโครไฟเบอร์ เลยตั้งคำถามว่าถ้าเราเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำเป็นอย่างอื่นมาทดแทนล่ะ…ก็เลยศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องปัญหาของสิ่งแวดล้อมด้วย ก็พบว่า ประเทศเรามีปัญหาผักตบชวาที่อยู่ตามแม่น้ำลำคลอง ที่อาจสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ เพราะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยผักตบชวาเพียง 1 ต้น สามารถแพร่พันธุ์ได้ถึง 1,000 ต้น ในเวลา 1 เดือน ทำให้น้ำเน่าเสีย แหล่งน้ำตื้นเขิน และยังไปกีดขวางการไหลของน้ำ จนเกิดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำอีกด้วย”
“จึงเป็นที่มาของการมิกซ์แอนด์แมตซ์ และเป็นไอเดียการพัฒนา ‘ฟองน้ำจากเส้นใยผักตบชวา’ ซึ่งเป็นการนำ 2 ปัญหามาพัฒนาเป็นโซลูชั่นในการแก้ปัญหาในเวลาเดียวกัน ทั้งสามารถลดขยะฟองน้ำ และขยะผักตบชวา อีกทั้งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และสร้างรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง” สิรินัดดา สรุปให้
โดยหลักการพัฒนา ‘ฟองน้ำจากผักตบชวา’ จะเริ่มจากการเก็บรวบรวมผักตบชวาจากแม่น้ำคูคลองในท้องถิ่น จากนั้นนำไปล้างทำความสะอาด และคัดแยกเส้นใยจากรากผักตบชวา และลำต้น เลือกใช้ส่วนที่เป็นเส้นใยมาทำการผลิตฟองน้ำโดยกดทับเส้นใยให้แน่น และนำไปตากแห้งด้วยตู้อบแสงอาทิตย์ จากนั้นนำเส้นใยผักตบชวาที่ตากแห้งแล้วมาวางซ้อนกันตามลายขวางจนได้ขนาดที่ต้องการ แล้วกดทับเส้นใยฟองน้ำด้วยเครื่องกด จนกลายเป็นก้อนฟองน้ำ ในขณะเดียวกัน เส้นใยอีกส่วนหนึ่งที่มาจากก้าน สามารถนำไปทำเป็นเส้นด้ายซึ่งจะมีความทนทานและสามารถย่อยสลายได้ นำด้ายที่ทำมาจากผักตบชวามาเย็บเก็บขอบฟองน้ำเพื่อให้ฟองน้ำแข็งแรง และบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำไปจำหน่ายได้ในครัวเรือน ร้านค้า และร้านอาหาร เป็นต้น
“สิ่งที่เราบอกว่ามันไกลตัว จริงๆ แล้วคือมันใกล้ตัวมากๆ มองออกนอกหน้าต่างก็เห็นแล้วว่า นี่คือสิ่งแวดล้อม คือถ้าเราอยากให้โลกเรามีสีเขียว มีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไป เราควรจะเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ถ้าเราร่วมมือกัน” บัวบูชา กล่าว
“อยากให้ทุกคนเชื่อในตัวเอง ซึ่งตอนแรกเราก็คิดว่า ไอเดียเราอาจไม่ได้ดีมากมายอะไร แต่จริงๆ แค่คิดออกมาได้ และศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมขึ้น มันก็มีหนทางที่สามารถทำได้แล้ว อยากให้ทุกคนเชื่อในตัวเองว่า เราเป็นจุดเปลี่ยนแปลงได้” สิรินัดดา เสริม
“อยากให้ทุกคนร่วมมือกัน ยกตัวอย่างเช่น ฟองน้ำพลาสติก แค่ในเมืองไทยปีหนึ่งก็มีคนใช้ประมาณ 20 พันล้านคนที่ใช้ต่อปีถือว่าเยอะมากแล้ว ถ้าเราทุกบ้านร่วมมือการลดการใช้ฟองน้ำพลาสติกก็จะช่วยลดปริมาณขยะในประเทศได้มาก การกระทำเล็กๆ มันก็สามารถยิ่งใหญ่ได้” ธนัชญา กล่าวส่งท้าย
นายยาช โลเฮีย ประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่กล้าคิด กล้าแสดงออก และมีความกระตือรือร้นในการต่อยอดแนวความคิดที่จะช่วยแก้ปัญหาสังคมและส่งเสริมนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งการรีไซเคิล PET โดยนวัตกรรมโซลูชั่น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสังคม อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างดี ซึ่งไอวีแอลมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านการรีไซเคิลและเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และสังคมส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”
ทั้งนี้ โครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงประเด็นรอบด้านของเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมทั้งช่วยพัฒนาทักษะให้กับนักนวัตกรรมรุ่นใหม่ในการพัฒนาโซลูชั่นที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยอินโดรามา เวนเจอร์ส ร่วมจัดการแข่งขันกับพันธมิตรระดับนานาชาติ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการ SDG Lab แห่งวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนของซีมีโอ (SEAMEO Regional Centre for Sufficiency Economy Philosophy for Sustainability) สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)
แหล่งข้อมูล