แนวคิดการบริหารจัดการขยะ ดึงชุมชนร่วมลดขยะในลำคลองและยังช่วยสร้างรายได้

Share

Loading

รู้ไหมว่าประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะสูงถึง 10,000 ตัน/วัน มีทั้งขยะบกและในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งมีเพียง 233 คลอง จาก 1,980 คลองระบายน้ำ ที่อยู่ในความดูแลของสำนักการระบายน้ำ จึงทำให้การเก็บขยะไม่ครอบคลุมทุกที่

จากสถิติงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2563 พบว่า สัดส่วนขยะพลาสติกในขยะทั่วไปมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ปริมาณพลาสติกในประเทศไทย แบ่งเป็นประเภทถุงพลาสติก 1.11 ล้านตัน ขวดพลาสติก 0.40 ล้านตัน ส่วนแก้ว กล่อง และถาดพลาสติก 0.23 ล้านตัน

พื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะสูงถึง 10,000 ตัน/วัน โดยเฉพาะขยะในแม่น้ำลำคลองซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีคลองระบายน้ำ 1,980 คลองที่อยู่ในความดูแลของสำนักการระบายน้ำ 233 คลอง จึงทำให้การจัดเก็บขยะในลำคลองยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และอุปกรณ์บางส่วนชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ อย่าง การเก็บขยะในคลองลาดพร้าวเก็บเป็นประจำทุกวันวันละ 2 รอบ ด้วยการวางอุปกรณ์กักขยะในลำคลองของกรุงเทพมหานคร ที่มีระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร แล้วมีทางเชื่อมต่อยังคลองแสนแสบและคลองบางซื่อที่มีการจัดเก็บขยะโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ หากไม่มีการจัดการขยะในแม่น้ำลำคลอง ขยะเหล่านี้ก็จะไหลลงสู่ทะเล ทำให้การบริหารจัดการยากขึ้น เนื่องจากขยะหากลงสู่ทะเลแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และการจัดการขยะในทะเลยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เป็นการบริหารจัดการขยะที่ดีที่สุด

การบริหารจัดการขยะ ควรแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทางเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ในส่วนของการจัดการขยะในแม่น้ำลำคลอง ควรให้ชุมชนเห็นถึงปัญหาและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการขยะ จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการลดขยะมากขึ้น มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไรที่ดำเนินการบริหารจัดการขยะ ฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากขยะ

แนวทางการจัดการขยะของมูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน หารือกับผู้นำชุมชน และมีการจ้างงานชาวบ้านในพื้นที่ เป็นการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง และยังเป็นการสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้คนในชุมชน

จัดการขยะในลำคลอง โดยมีชุมชนมีส่วนร่วม

เมื่อได้ขยะมาแล้วนำมาคัดแยกขยะ โดยก่อนจะคัดแยกขยะต้องนำขยะมาตากแดด 1-2 วัน จะมากน้อยแล้วแต่แสงแดดในแต่ละวัน หลังจากนั้นค่อยคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ทั้งรีไซเคิลได้และไม่ได้ ซึ่งขณะทุกประเภท หากเป็นขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ก็จะทำลายซึ่งไม่ใช่วิธีการฝังกลบ

มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย ได้ร่วมมือกับเครือข่ายในสหรัฐอเมริกา ส่งขยะไปแปรรูปในต่างประเทศ ทำให้วงจรของขยะสมบูรณ์ เกิดเป็นกระบวนการรีไซเคิลอย่างแท้จริง ส่วนขยะที่ปนเปื้อนและไม่สามารถรีไซเคิลได้ ก็จะถูกส่งไปโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้าต่อไป ซึ่งในทุกกระบวนการจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ และยังมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต ถึงการนำขี้เถ้าและสิ่งที่เหลือจากกระบวนการมาใช้ประโยชน์ต่อไป

มีการร่วมมือกับThe Incubation Network เพิ่มเครือข่ายจัดการสิ่งแวดล้อม

แม้มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทยจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บและการจัดการขยะ แต่ในการดำเนินการจำเป็นต้องการระดมทุน และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อขยายผลการทำงาน เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งทาง The Incubation Network มีเครือข่ายในหลากหลายประเทศ และมีโครงการต่างๆ มากมาย ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้การทำงานของมูลนิธิฯ  มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีแนวทางในการสร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาขยะ และสิ่งแวดล้อม

ดูอาล่า อ๊อกโตรีอานี ผู้จัดการโครงการของ The Incubation Network กล่าวว่าบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการโครงการ จะรับผิดชอบการวางแผนและกลยุทธ์ การสร้างเครือข่าย และการบริหารพันธมิตร เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงการจัดการขยะพลาสติกธุรกิจประกอบการ SME และสตาร์ทอัพ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น จะช่วยผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิลให้เข้าถึงความต้องการของผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจากทั่วโลก ธุรกิจรีไซเคิลในประเทศไทย ต้องการความช่วยเหลือทั้งด้านเทคนิค และการลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกันเป็นการใช้วัสดุที่มีเป็นนวัตกรรมช่วยลดการใช้พลาสติก

เจมส์ สกอทท์ กรรมการบริหารมูลนิธิเทอร์ราไซเคิลโกลบอล และประเทศไทย กล่าวว่า “สิ่งสำคัญในการจัดการขยะนั้น ไม่ใช่การเก็บขยะในคลอง แต่ต้องทำให้คนเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทิ้งขยะในคลอง และมีจิตสำนึก ตระหนึกถึงปัญหาของขยะในแม่น้ำลำคลอง ที่ไม่ใช่มีเพียงขยะพลาสติก แต่มีทั้งที่นอน รองเท้า  เครื่องใช้ไฟฟ้า หมวกกันน็อค อุปกรณ์มอเตอร์ไซต์ และอีกมากมาย ดังนั้น อยากฝากทุกคนอย่าทิ้งขยะในแม่ลำคลอง เพราะหากขยะเหล่านี้ไหลลงสู่ทะเล อาหารที่เรารับประทาน ไม่ว่าจะเป็น สัตว์น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพล้วนมีไมโครพลาสติกปกเปื้อนและจะส่งผลต่อทุกคน”

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/832791