3 เรื่องต้องรู้ หลัง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้แล้ว ประชาชนที่ถูกหลอกต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างดูเลย
จากกรณีที่พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 มีผลบังคับใช้ในวันนี้ โดยทาง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 3 เรื่องต้องรู้ เมื่อ พ.ร.ก.
1 เมื่อถูกหลอกหรือมีเหตุสงสัยว่าตกเป็นเหยื่อ* ให้รีบดำเนินการดังนี้
*เช่น กรณีหลอกลวงคอลเซ็นเตอร์ และแอปดูดเงิน เป็นต้น
(1) แจ้งธนาคารทันที ผ่านเบอร์ศูนย์รับแจ้งเหตุ hotline หรือที่สาขาเพื่อให้ระงับธุรกรรมชั่วคราว ช่วยตัดตอนเส้นทางการเงิน
(2) แจ้งตำรวจอย่างรวดเร็ว ผ่านออนไลน์หรือท้องที่ใดก็ได้ เพราะธนาคารระงับธุรกรรมชั่วคราวได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยตำรวจจะแจ้งให้ธนาคารทราบเพื่อระงับธุรกรรมต่อ อีก 7 วันระหว่างดำเนินการสอบสวน
2 โทษบัญชีม้าและซิมม้า…หนักขึ้น แค่โฆษณาซื้อ/ขาย…ก็ผิดแล้ว
เปิดหรือยอมให้คนอื่น ใช้บัญชีเงินฝาก บัตร หรือ e-Wallet เป็นบัญชีม้า หรือ ให้คนอื่นใช้/ยืมใช้ เพื่อนำไปใช้ในการทุจริตหรือทำผิดกฎหมาย ต้องรับโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
โฆษณาเพื่อให้ มีการซื้อ/ขายบัญชีม้า หรือซิมโทรศัพท์ ต้องรับโทษ จำคุก 2-5 ปี และปรับ ตั้งแต่ 200,000-500,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกัน มีดังนี้
- ธนาคาร แชร์ข้อมูลทุกจริตระหว่างกันโดยไม่ติด PDPA ผลที่คาดลดบัญชีบ้าจำกัดความเสียหาย
- ตำรวจ DSI ปปง. ได้รับแจ้งข้อมูลทุจริตที่แลกเปลี่ยนกันได้ ผลที่คาด ช่วยเหลือได้รวดเร็วติดตามลงโทษผู้กระทำผิด
แหล่งข้อมูล