‘เอ็มมา’ หุ่นยนต์หมอนวดแผนจีน เกิดมาแบ่งเบาหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

เอ็มมา คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านสุขภาพของ Mayo Clinic โรงพยาบาลเมโยคลิกนิกในเมืองโรเชสเตอร์ รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ที่เหล่ามนุษย์ปวดหลังทั้งหลายกำลังจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่

‘เอ็มมา’ เป็นชื่อ ‘หุ่นยนต์หมอนวด’ ที่ถูกพัฒนาโดย ‘AiTreat’ บริษัทสตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ (Nanyang Technological University) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเทคนิคการรักษาแบบ ‘ทุยหนา’ (Tuina) ศาสตร์แพทย์แผนจีนที่ใช้วิธีกด คลึง ดีด บีบ หรือกลิ้ง นวดลงบนจุดต่างๆ ของร่างกายตามแนวเส้นลมปราณ หรือจุดฝังเข็ม เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

เอ็มมา มีรูปทรงเหมือนเครื่องจักร ทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อันประกอบไปด้วยแขนเหล็กอันแข็งแรง อีกทั้งส่วนปลายแขนที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนมือ ทำมาจากซิลิโคน และมีเซนเซอร์เพื่อระบุกล้ามเนื้อ และวัดจุดฝังเข็มในร่างกายแต่ละส่วน

ทั้งนี้บริการของหมอนวดเอ็มมา จะมีแพทย์แผนจีนเป็นคนคอยมอบหมายประเภทของการนวด หลังจากให้คำปรึกษา และหุ่นยนต์จะปรับค่ากับกล้อง เพื่อกำหนดเป้าหมายฝังเข็มอย่างถูกต้อง รวมไปถึงตัวผู้ป่วยเองก็สามารถเปลี่ยนแปลงแรงกดของการนวด ผ่านการควบคุมแบบใช้มือถือในระหว่างกระบวนการ

ส่วนเซนเซอร์ในตัวหุ่นยนต์จะวัดความตึงของกล้ามเนื้อก่อน-หลังการนวด ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถประเมินสภาพของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ

ปัจจุบันเอ็มมากำลังอยู่ในช่วงทดลองงาน ให้บุคลากรทางการแพย์ได้ประเมินประสิทธิผลต่อแนวทางการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง เนื่องจากในสหรัฐฯ มีคนไม่มากนักที่ได้รับการฝึกอบรมเทคนิคแบบทุยหนา

ด้าน ดร.เบรนท์ บาวเออร์ (Dr. Brent Bauer) แพทย์อายุรกรรมทั่วไปที่ Mayo Clinic กล่าวว่า การประเมินและการวางตำแหน่งส่วนใหญ่จะยังคงมอบหมายให้กับพนักงานที่เป็นมนุษย์ ในขณะที่หมอนวดหุ่นยนต์นี้จะคอยจัดการกับ ‘งานที่ทำซ้ำๆ’

อย่างไรก็ดี จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางในสิงคโปร์ ซึ่งได้ทดสอบหุ่นยนต์หมอนวดก็พอจะบ่งชี้ให้เห็นว่า การมีเอ็มมา สามารถแบ่งเบาหน้าที่แพทย์แผนจีนให้ทำงานเบาขึ้น และช่วยลดปัญหาการขาดแคลนนักนวดบำบัด และนักกายภาพบำบัดได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้การนวดคุณภาพสูง สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แถมราคาไม่แพงอีกด้วย

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/brandthink.me/photos/a.1767934240198787/3614515865540606/