เพื่อให้เตรียมพร้อมทั้งแต่ละบุคคลและองค์กรสำหรับลักษณะของอาชีพ งาน และทักษะที่จำเป็นในอนาคต ก็ได้มีหลายๆ สำนัก ที่จะพยายามมองภาพไปข้างหน้าถึงอาชีพและทักษะแห่งอนาคต โดยล่าสุดก็เป็นการศึกษาของ WEF
รายงานของ World Economic Forums ในชื่อ Future of Jobs Report ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก เนื่องจากมีการศึกษาที่ครอบคลุมประเทศจำนวนมาก ซึ่งในไทยก็ได้คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เป็นพันธมิตรในการศึกษามาตลอด โดยรายงานฉบับล่าสุด เพิ่งออกมาเมื่อต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา
รายงานได้เริ่มเปิดประเด็นจาก ปัจจัยเชิงมหภาค ที่จะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนขององค์กรธุรกิจและส่งผลต่ออาชีพและทักษะในอนาคต โดยปัจจัยมหาภาคที่สำคัญที่สุด 5 ประการ ได้แก่ การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ การเข้าถึงดิจิทัลที่ทั่วถึงมากขึ้น การนำ ESG มาปรับใช้ ค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้น และการชะลอตัวของเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก
จากปัจจัยมหภาคข้างต้น WEF ได้พยากรณ์ไว้ว่าระหว่างปี 2566-2570 จะมีงานที่ต้องสูญเสียไป 83 ล้านงาน (Jobs) แต่ขณะเดียวกันก็จะมีงานใหม่เพิ่มขึ้น 69 ล้านงาน
อาชีพที่เป็นที่ต้องการในอนาคตและจะสร้างงานใหม่ให้เกิดขึ้น 5 อันดับแรก
ได้แก่ 1.AI and Machine Learning Specialists 2.Sustainable Specialists 3.Business Intelligence Analysts 4.Information Security Analysts และ 5.FinTech Engineers
ส่วนอาชีพที่จะถูกทดแทนหรือสูญหายไปมากที่สุด 5 อันดับแรก
ได้แก่ 1.Bank Tellers 2.Postal Service 3.Cashiers 4.Data Entry 5.Administrative and Executive Secretaries เห็นได้ว่าอาชีพใหม่แห่งอนาคตนั้น เป็นอาชีพที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยมหภาคเป็นหลัก
สำหรับทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในปี 2566 สิบอันดับแรก
ได้แก่ 1.Analytical thinking 2.Creative thinking 3.Resilience, flexibility, and agility 4.Motivation and self-awareness 5.Curiosity and lifelong learning 6.Technological literacy 7.Dependability and attention to detail 8.Empathy and active listening 9.Leadership and social influence และ 10.Quality control
ส่วนทักษะในอนาคตที่ธุรกิจคาดหวังจากพนักงานในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เป็นทักษะหลักในปี 2566 อยู่บ้าง โดยทักษะสิบอันดับแรกที่ภาคธุรกิจมองว่าจะมีความสำคัญมากขึ้นในช่วงปี 2566-2570 ประกอบด้วย
1.Creative thinking 2.Analytical thinking 3.Technological literacy 4.Curiosity and lifelong learning 5.Resilience, flexibility and agility 6.Systems thinking 7.AI and big data 8.Motivation and self-awareness 9.Talent management 10.Service orientation and customer service
จะเห็นได้ว่ารายชื่อของสิบอันดับทักษะทั้งในปัจจุบันและอนาคตนั้น จะประกอบด้วยส่วนที่เป็นทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมไปถึงทัศนคติด้วย
สำหรับข้อมูลเฉพาะของประเทศไทยนั้น ปัจจัยมหภาคที่ส่งผลกระทบต่อการอาชีพและงานใหม่นั้น ใน 5 อันดับแรกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ESG และความยั่งยืนถึง 4 เรื่อง มีเพียงแค่เรื่องการเข้าถึงดิจิทัลที่กว้างขวางขึ้น
ที่เป็นประเด็นทางด้านเทคโนโลยีที่หลุดเข้ามาเป็นอันดับ 4 แสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจไทยมองเห็นช่องว่างที่กว้างระหว่างความตื่นตัวและการให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG และความยั่งยืน แต่ยังขาดแคลนบุคลากรในสายอาชีพนี้ที่เพียงพอ
ในไทยนั้นทักษะที่ภาคธุรกิจมองว่าเป็นทักษะหลัก ที่พนักงานควรจะต้องมีเพื่อให้สามารถทำงานได้ดี ประกอบไปด้วย 1.Cognitive skills 2.Self-efficacy 3.Technology skills 4.Management skills และ 5.Working with others
ส่วนทักษะที่จะต้องมีการพัฒนาและยกระดับอย่างมากในอีก 5 ปีข้างหน้าประกอบไปด้วย 1.AI and big data 2.Analytical thinking 3.Creative thinking 4.Leadership and social influence 5.Talent management
ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากรายงาน Future of Jobs 2023 ของ WEF และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เนื่องจากเมื่อเห็นข้อมูลของอาชีพและทักษะแห่งอนาคตแล้ว คงจะต้องคิดกันต่อว่าจะยกระดับหรือพัฒนาทักษะของแต่ละคนอย่างไร รวมทั้งองค์กรจะมีแนวทางในการบริหารพนักงานกลุ่มที่เป็น Talent เหล่านี้อย่างไร
แหล่งข้อมูล