ตู้ขายน้ำที่ดูดซับคาร์บอนได้เทียบเท่าต้นไม้ 20 ต้น! ญี่ปุ่นเตรียมจำหน่าย ตู้ขายน้ำอัตโนมัติ ที่สามารถดูดซับ CO2 จากอากาศนำไปทำเป็นปุ๋ยได้ เพื่อช่วยบรรลุเป้าหมาย Net Zero
เป้าหมายเพื่อลดคาร์บอนไดออกไซต์ อันเป็นส่วนหนึ่งของการลดภาวะโลกร้อน ญี่ปุ่นกำลังลงมือทำให้เป็นจริงตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้บนเวทีโลกโดย Asahi Soft Drinks Co., Ltd. ภายใต้ Asahi Group Holdings., Ltd ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่คิดว่าคนไทยน่าจะรู้จักอยู่บ้าง
ญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมตู้ขายของอัตโนมัติมากที่สุดในโลก และมีหลากหลายสินค้าที่อยู่ในตู้เหล่านี้ด้วย ช่วยให้คนเข้าถึงสินค้าได้ง่าย ราคาถูกและสะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่กระจายอยู่ทั่วประเทศแม้กระทั่งในท้องถิ่นห่างไกล
ในเดือนนี้ Asahi ได้ออกมาประกาศว่าในเดือนมิถุนายนปี 2023 นี้ จะลองนำตู้ขายน้ำอัตโนมัติตู้ใหม่ออกมาติดตั้งทดลองใช้ในญี่ปุ่น และจะเริ่มวางจำหน่ายจริงจังในปี 2024 หากได้จดสิทธิบัตร ซึ่งมันจะสามารถช่วยให้ญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ ซึ่งนั่นก็คือ ตู้ขายน้ำอัตโนมัติที่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้เหมือนต้นไม้
ตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัตินี้ถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่นอกเหนือจากการขายน้ำดื่ม นั่นคือการทำหน้าที่เป็นเครื่องที่รีไซเคิลอากาศเสีย อย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศได้ หลังจากนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้จะนำไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปุ๋ย คอนกรีต และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ ผลผลิตนี้จะสามารถขายต่อให้กับกลุ่มธุรกิจท้องถิ่นหรืออุตสาหกรรมที่ต้องการได้ในราคาถูกอีกด้วย
ผลนอกจากจะช่วยให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในสิ่งแวดล้อมได้ ก็จะช่วยสภาพอากาศตรงนั้นรู้สึกสะอาดไปด้วย และวัสดุพิเศษที่ติดตั้งไว้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นั้นก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตู้จำหน่วยเครื่องดื่มอัตโนมัติด้วย และคาดว่าจากสามารถชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 20% ซึ่งเทียบเท่ากับความสามารถการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นซีดาร์ญี่ปุ่นประมาณ 20 ต้น (อายุต้นไม้ 56-60 ปี)
แผนในปีนี้จะเริ่มติดตั้งเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติประมาณ 30 เครื่อง ในภูมิภาคคันโตและคันไซของญี่ปุ่น เพื่อทดลองรูปแบบการใช้งานและความทนทานของเครื่อง รวมถึงประสิทธิภาพในการดูดซับ CO2 ซึ่งจะมีการลองติดตั้งในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งกลางแจ้งและในร่วม แตกต่างกันออกไป
แหล่งข้อมูล
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/sustainable/838930