สอนลูกเล่นโซเชียล คู่มือ Cyber Safe Kids เพิ่มภูมิคุ้มกันไซเบอร์ให้เด็ก

Share

Loading

อันตรายจาก “ภัยออนไลน์” ที่มาจากการเปิดเผยตัวตนมากเกินไป บนโซเชียลมีเดียทั้งจากเด็กและผู้ปกครอง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในปัจจุบัน รวมถึงการ “ไซเบอร์บูลลี่” หากผู้ปกครองไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อาจช้าเกินแก้…

ผู้ปกครองควรระวัง สอนลูกเล่นโซเชียล ให้ปลอดภัย

ในยุคดิจิทัลเด็กไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น และความเป็นจริงนั้นการท่องโลกออนไลน์ถือได้ว่าเป็นดาบสองคม การเชื่อมต่อบนโลกออนไลน์ไม่เคยมีบทบาทเท่านี้มาก่อน จนกระทั่งการเกิดโรคโควิด-19 ครั้งใหญ่ที่ผ่านมา การแยกตัวออกจากสังคมทำให้กิจกรรมออนไลน์ของเด็กเพิ่มขึ้นตั้งแต่การศึกษาไปจนถึงการเข้าสังคมกับเพื่อนฝูงและความบันเทิง ดังนั้นความเสี่ยงของเด็กในการใช้เวลาบนโลกออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยตัวตนมากเกินไป (Oversharing) บนโซเชียลมีเดียทั้งจากเด็กและผู้ปกครองก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น

กรูมเมอร์ (Groomers) ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่อันตรายที่สุดบนอินเทอร์เน็ต เพราะกรูมเมอร์เหล่านี้ที่ต้องการที่จะล่อลวงและละเมิดเด็กๆ ยิ่งไปกว่านั้นกรูมเมอร์สามารถค้นหาเหยื่อได้อย่างง่ายดายเมื่อพวกเขาทราบที่อยู่หรือโรงเรียนของเหยื่อจากการเปิดเผยตัวตนมากเกินไปของเหยื่อเอง

เพื่อปกป้องเด็กๆจากเหล่ากรูมเมอร์ นอกเหนือจากการไม่เปิดเผยตัวตนมากเกินไปบนอินเทอร์เน็ตแล้ว เด็กๆและผู้ปกครองยังสามารถสังเกตุอันตรายได้ด้วยถ้อยคำที่น่าสงสัยจากเหล่ากรูมเมอร์ เช่น

  • เจอกันหน่อยดีไหม
  • นี่เป็นความลับระหว่างเรานะ
  • ผมชอบคุณจริงๆ ขอดูวิดีโอคุณได้ไหม
คู่มือ Cyber Safe Kids เพิ่มภูมิคุ้มกันไซเบอร์ให้เด็ก

แม้ว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ในหมู่เด็กๆ จะเป็นปัญหาร้ายแรงที่ควรได้รับการแก้ไขโดยทันที ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าควรรับมือกับภัยคุกคามนี้อย่างไร และเพียง 1 ใน 3 ครอบครัวเท่านั้นที่ปกป้องบุตรหลานด้วยการกรองหรือบล็อกซอฟต์แวร์

สำหรับประเทศไทย พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ ได้ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปออนไลน์ Cyber Safe Kids เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา เวิร์กช็อปครั้งนี้ดำเนินการด้วยหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งประกอบด้วยบทเรียนด้านความปลอดภัยบนออนไลน์ที่สำคัญ ผ่านการเล่าเรื่องและกิจกรรมต่างๆ

นอกเหนือจากนี้ พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ ยังเน้นย้ำถึงปัญหาไซเบอร์บูลลี่ซึ่งเป็นปัญหาร้ายแรงบนโลกดิจิทัลในหมู่เด็กๆ ด้วยกันเองอีกด้วย ทั้งนี้ไซเบอร์บูลลี่คือ การตั้งใจทำร้ายผู้อื่นในหลากหลายรูปแบบโดยใช้สื่อโซเซียลมีเดียเป็นอาวุธที่สำคัญ

เด็กๆควรรับมืออย่างไรกับไซเบอร์บูลลี่
  • บล็อกและรายงานเรื่องไซเบอร์บูลลี่
  • บอกเพื่อน ครู หรือพ่อแม่
  • คอยเป็นหูเป็นตาแทนเพื่อน หากพบเห็นคนที่รู้จักถูกรังแก ต้องเล่าให้ผู้ใหญ่หรือคนที่ไว้วางใจได้ฟัง
  • จับภาพหน้าจอและภาพถ่ายความคิดเห็นที่หยาบคายเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบ เพื่อเล่าให้ครู พ่อแม่ หรือผู้ปกครองฟัง

ไซเบอร์บูลลี่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากโดยบางครั้งเราเองก็ไม่ทันรู้ตัว เพื่อที่จะป้องกันปัญหาที่น่ากังวลนี้ผู้ปกครองควรตรวจสอบบุตรหลานอย่างสม่ำเสมอในการอัพเดตข่าวบนโซเชียล เพื่อพิจารณาว่า ลูกหลานของเราได้พูดหรือกระทำเรื่องเหล่านี้ หรือถูกกระทำจากสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ผู้ปกครองควรสอนให้บุตรหลานปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเคารพไม่ว่าจะทางออนไลน์หรือออฟไลน์

“ในยุคดิจิทัล ผู้ปกครองควรทำหน้าที่สำคัญในการช่วยปกป้องเด็กๆ ตลอดจนเป็นแบบอย่างในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับบุตรหลาน” ปิยะ จิตต์นิมิตร ผู้จัดการประจำประเทศไทย  พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ กล่าว

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการปกป้องโลกดิจิทัล พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ จึงดำเนินโครงการ Cyber A.C.E.S. (Activities in Cybersecurity Education for Students) หรือ กิจกรรมการศึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับนักเรียน ซึ่งโครงการได้จัดขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนรวมถึงประเทศไทย

โดยโครงการนี้มุ่งมั่นที่จะให้ความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับนักเรียนให้พร้อมเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี และเพื่อสร้างความมั่นใจว่า เด็กๆ จะได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้ พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความสำคัญของการศึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับคนรุ่นใหม่ และหวังว่าทุกคนและเด็กๆ จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ และเรียนรู้วิธีใช้งานเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/843702