ประเด็นนี้ในยุคนี้ของไทยอาจไม่ได้เป็นปัญหาเท่าไรสำหรับการสมัครเข้าทำงานที่ใดที่หนึ่ง แต่ถ้าเป็นช่วงที่การเมืองแรงๆ และพนักงานฝ่ายบุคคลถึงกับต้องสอดส่องโซเชียลมีเดียเพื่อตรวจสอบทัศนคติทางการเมืองก่อนเข้าทำงาน ปัญหาเกิดแน่ๆ ถ้าต่างฝ่ายต่างอยู่ในฝั่งที่สุดขั้วแบบไม่ฟังความเห็นที่แตกต่างกันทั้งคู่ ผลการวิจัยพบว่าปัญหานี้จะหมดไป เมื่อมี AI เข้ามาช่วย
Andreas Leibbrandt นักเศรษฐศาสตร์จาก Monash University จากออสเตรเลียให้สัมภาษณ์กับ Business Insider ว่า เขาได้ทำวิจัยแล้ว พบว่า AI สามารถประเมินผู้สมัครงานในสาขาเทคโนโลยีหรือสายเทคที่มักจะเป็นผู้ชายทำงานด้านนี้ ก็มักจะมีแนวโน้มที่จะจ้างงานผู้ชายด้วยกันเองมากกว่า แต่ AI ที่คนอาจคิดว่ามันน่าจะมีอคติได้ แต่มันอาจจะมีอคติน้อยกว่าที่เราคิด
AI สามารถทำหน้าที่คัดกรองคนเข้าทำงานได้ดีกว่ามนุษย์ และวิธีนี้จะช่วยลดอุปสรรคในการสัมภาษณ์เข้าทำงาน ซึ่งไม่ได้หมายความว่ามนุษย์ไม่ควรทำหน้าที่ที่จะเสนองานให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ แต่ Leibbrandt มองว่า AI อาจจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้สามารถพิจารณาคนเข้าทำงานได้เร็วขึ้นได้
Leibbrandt ระบุว่า ในวงการเทคฯ มักมีหลักฐานยืนยันให้เห็นอยู่บ้างว่า ผู้หญิงหลายคนถูกอคติจากการทำงาน และพบแนวคิดแบบ bro culture ที่หมายถึงวัฒนธรรมพี่ชาย-น้องชาย มักเกิดในวงทำงานที่มีผู้ชายทำงานอยู่ด้วยกันเยอะๆ หรือในวงสังคมที่มีเพศชายเป็นใหญ่ แต่ผลวิจัยออกมาแล้วพบว่า เมื่อตัดประเด็นเรื่องเพศออกไป ความแตกต่างของเพศก็ไร้ความหมาย ด้วยการหันมาใช้ AI เข้ามาคัดเลือกคนเข้าทำงานแทนมนุษย์ จากงานวิจัยสะท้อนออกมาให้เห็นว่า สิทธิพิเศษใดๆ ที่มีมาจากเพศใดเพศหนึ่ง ในที่นี้หมายถึงเพศชายก็ถูกลดทอนออกไปด้วย
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/photo/?fbid=755726879922884&set=a.628388912656682