ไม่น่าเชื่อว่า ลึกลงไปใต้ถนนใหญ่ใจกลางมหานครลอนดอน จะมีสวนผักปลูกพืชผักนานาชนิดซุกซ่อนอยู่ ธุรกิจเหล่านี้นอกจากจะช่วยสร้างแหล่งอาหารในท้องถิ่นให้ลอนดอนเนอร์แล้ว ก็ยังช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการขนส่งสินค้าระยะไกลอีกด้วย
Growing Underground คือเจ้าของธุรกิจปลูกผักใต้ดินดังกล่าว โดยใช้หลุมหลบภัยเก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาปลูกพืชและสมุนไพรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ป้อนให้แก่ร้านค้าและร้านอาหารในท้องถิ่น
อีกบริษัทหนึ่งซึ่งทำธุรกิจคล้ายๆ กันก็คือ Article25 ที่ใช้ห้องใต้ดินในการปลูกเห็ดพันธุ์ต่างๆ ที่หลากหลาย โดยใช้กากกาแฟที่เหลือทิ้งจากร้านกาแฟต่างๆ มาเป็นวัสดุเพาะเห็ด ทดแทนขี้เลื่อย
Alexandro Rizzo Gomez ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Article25 ระบุว่า แนวคิดหลักของ Article25 คือ “ความยั่งยืน” โดยเป็นการใช้ระบบเพาะปลูกที่ทำงานร่วมกับธรรมชาติ มากกว่าจะเป็นการปลูกพืชที่สวนทางกับธรรมชาติ
ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงเลือกปลูกเห็ดที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่มืด ทำให้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าให้แสงสว่างมาก และเขาหวังว่าการทำเกษตรแนวนี้จะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการปลูกพืชเลี้ยงปากท้องของผู้คนในอนาคต
ศาสตราจารย์ Dr. Ruchi Choudhary มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้ให้กำเนิด Growing Underground “ฟาร์มใต้ดิน” เพื่อรับมือวิกฤติขาดแคลนอาหาร
ศาสตราจารย์ Dr. Ruchi Choudhary เริ่มตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการพัฒนาพืชใต้อาคาร โดยการใช้ Machine Learning เข้ามาช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน และลดการใช้พลังงานในด้านต่างๆ
ศาสตราจารย์ Dr. Ruchi Choudhary เล่าว่าแนวคิดจัดทำ “ฟาร์มใต้ดิน” เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2015 โดยมีเป้าหมายชุบชีวิตหลุมหลบภัยเก่า และอุโมงค์ใต้ดิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกพืชใต้ดินที่ลึกลงไป 30 เมตร ขาดแสงแดดจากธรรมชาติ ด้วยความพยายามของศาสตราจารย์ Dr. Ruchi Choudhary ที่นำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรม และการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้สภาพแวดล้อมใต้ดินเกิดความเสถียรได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำ LED มาใช้ ปรับอุณหภูมิ แสง แร่ธาตุ และอีกหลายอย่างที่เป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช จนทำให้พื้นที่นี้เป็นสภาวะในอุดมคติสำหรับพืชดังที่ทราบกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พืชต้องการคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อเจริญเติบโต ที่ Growing Underground ได้ดึงเอาพลังงานความร้อนของลอนดอน และคาร์บอนบนถนน มาใช้หมุนเวียนเพื่อให้พืชใต้ดินเจริญเติบโตได้ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ศาสตราจารย์ Dr. Ruchi Choudhary ชี้ว่า ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดของ “ฟาร์มใต้ดิน” ก็คือ ลอนดอนเนอร์สามารถเข้าใกล้แหล่งผลิตอาหารได้มากขึ้น ลด Supply Chain ในการจัดส่งแต่ละครั้ง และทำให้ได้สินค้าที่สดใหม่ส่งตรงถึงมือผู้บริโภคอยู่เสมอ
แรงบันดาลใจจากโครงการ “ฟาร์มใต้ดิน” ของ Growing Underground ทำให้เกษตรจำนวนมากสามารถจัดการกับผลผลิตทางการเกษตรได้มากขึ้น อีกทั้ง ระยะเวลาในการเพาะปลูก และเก็บผลผลิตของพืชก็ลดลงมากกว่าครึ่งต่อครึ่ง
นอกจากนี้ “ฟาร์มใต้ดิน” ยังมีการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำและดินที่น้อยกว่าการปลูกพืชในเรือนกระจกทั่วไป อีกทั้ง พลังงานที่นำมาใช้ยังเป็นพลังงานที่สามารถทดแทนได้อีกด้วย
ศาสตราจารย์ Dr. Ruchi Choudhary เผยว่า ความท้าทายของ “ฟาร์มใต้ดิน” คือเรื่องการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งไม่สามารถทำได้เลยในสภาวะเช่นนี้หากขาดเทคโนโลยีสมัยใหม่
ดังนั้น ศาสตราจารย์ Dr. Ruchi Choudhary จึงสร้างแบบจำลองเสมือนของฟาร์มเกษตรกรรมจากข้อมูลเดิมที่มีอยู่ หรือที่เรียกว่า Digital Twins ที่สามารถอ่านค่าแบบรายวัน แจ้งเตือนกับผู้ดูแลได้ว่า ควรปรับลดค่าแสง อุณหภูมิบริเวณไหน หรือแม้กระทั่งบอกค่าความต้องการน้ำของพืชแต่ละต้นแบบเรียลไทม์
อีกหนึ่งสิ่งที่ถือเป็นความท้าทายคือกระบวนการด้านโลจิสติกส์ หรือการขนส่งและประสานงาน ซึ่งต้องใส่ใจในรายละเอียดพอสมควร
เนื่องจากองค์ประกอบทั้งด้านฝั่งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ถูกเชื่อมต่อกันหมดจึงจะสามารถทำให้ Digital Twins ดำเนินการไปได้อย่างไม่ติดขัด นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึง Carbon Footprint ซึ่งหากใช้พลังงานมากเกินไปจนเกิดรอยเท้าคาร์บอน อาจทำให้ความตั้งใจแรกที่จะทำให้โครงการเป็น Net Zero ล้มเหลวได้
ศาสตราจารย์ Dr. Ruchi Choudhary หวังว่าเมื่อโครงการ Growing Underground ถูกปรับให้มีเสถียรภาพที่สามารถใช้งานคู่กับ Digital Twins ได้อย่างไร้ปัญหาใดๆ แล้ว โครงการนี้จะได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่ไปในวงกว้างของวงการเกษตรกรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่รกร้างว่างเปล่าอื่นๆ ทั่วลอนดอน จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น พื้นที่ใต้สะพาน บนดาดฟ้า หลังคา หรือช่องหว่างระหว่างอาคาร ซึ่งสามารถสร้างความตระหนักให้กับลอนดอนเนอร์ ว่าเราสามารถทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมได้หลากหลาย แม้ว่าเราจะมีวิถีชีวิตแบบคนเมืองก็ตาม
แหล่งข้อมูล