SDG (Sustainable Development Goals) เป็นแนวทางของ “องค์การสหประชาชาติ” หรือ UN (United Nation) ที่เน้นให้ชาติสมาชิกแต่ละประเทศดำเนินการร่วมกัน
โดยมีปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ หรือ 5P ได้แก่
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (People)
- การดูแลสิ่งแวดล้อม (Planet)
- การสร้างเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity)
- การสร้างสันติภาพและความยุติธรรม (Peace)
- ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)
เป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนวาระ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development
โดย “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหา และวิกฤติการณ์ของโลก ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนทุก Generation ในปัจจุบัน
ESG (Environment-Social-Governance) และ BCG (Bio-Circular-Green Economy) จึงเข้ามารับลูกต่อจากกระแส “การพัฒนาที่ยั่งยืน” นอกจากจะกำลังเป็นที่สนใจแล้ว จะยังคงเป็นหลักในการพัฒนาองค์กรต่อไปในอนาคต
โจทย์หลักก็คือ ทำอย่างไรให้ไปถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน คำตอบหนึ่งก็คือ องค์กรต้องมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ มีกระบวนการผลิต และกระบวนการปฏิบัติงาน ที่นำไปสู่การลดต้นทุน ลดความสิ้นเปลือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลดปริมาณของเสีย
แนวคิด LEAN จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญ ในอันที่จะทำให้ การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ศักยภาพ นำไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน
แนวคิด LEAN คือการลดความสูญเปล่า เพราะความสูญเปล่าคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้การดำเนินธุรกิจด้อยประสิทธิภาพ
แนวคิด LEAN เน้นไปที่การมองหาความสูญเปล่า หรือ Waste, Loss เพื่อลด-ละ-เลิก “ความสูญเปล่า” เหล่านั้น
ภายใต้แนวคิดของความพยายามทุกวิถีทางในการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงานลงทีละน้อย แต่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) จนกระทั่งไม่มีความสูญเปล่าหลงเหลืออีกต่อไป
โดยทั่วไป “ความสูญเปล่า” มีทั้งหมด 7 ประการ
- Over Production: การผลิตที่มากเกินความจำเป็น
- Over Processing: กระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน
- Transportation: เคลื่อนย้ายที่เกินความจำเป็น
- Inventory: การจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้ามากเกินความจำเป็น
- Motion: การวาง Workstation ที่ไม่ดี สามารถใช้ 5ส เข้ามาแก้ปัญหาได้
- Waiting: มีการรอคอยที่ทำให้ต้องเสียเวลาไปโดยสูญเปล่า
- Defects: เกิดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานบ่อยครั้ง
ดังนั้น การนำแนวคิด LEAN เข้ามาใช้ในองค์กร ต้องอาศัยความใส่ใจของผู้บริหารระดับสูง ที่หากไม่เอาจริงเอาจัง การทำ LEAN จะไม่สำเร็จ และจะกลายเป็นการสูญเปล่าซ้ำซ้อนซ้ำซากเพิ่มขึ้นไปอีก
เรื่องยากที่สุดในการนำ LEAN เข้ามาใช้ในองค์กรก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่เคยทำมาแต่เดิม เพราะพนักงานต่างเคยชินกับการทำงานแบบเดิม
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการนำ LEAN เข้ามาใช้ในองค์กร พนักงานจะรู้สึกว่าเป็นภาระ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือจะต้องเริ่มจากการเปลี่ยน Mindset ของพนักงานก่อน จากนั้นจึงเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้ระบบการทำงานให้ดีขึ้นต่อไป
ดังที่กล่าวไป การนำแนวคิด LEAN เข้ามาใช้ในองค์กร ต้องอาศัยความใส่ใจของผู้บริหารระดับสูง เพราะการทำ LEAN จะประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร หรือเจ้าของกิจการที่ต้องเป็นผู้ริเริ่ม และเป็นผู้นำ เพื่อลงมือเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างจริงจัง
ทุกองค์กรต้องคิดแบบ Start Up คือสร้างธุรกิจให้เติบโตแบบ Exponential ต้องทำแบบ SMEs ที่ผู้บริหารลงมือเอง และเข้าถึงลูกค้าด้วยตัวเอง ต้องมีระบบแบบมหาชน คือระบบการทำงานที่มีมาตรฐาน แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นมีต้นทุนสูง
การนำแนวคิด LEAN ไปตอบโจทย์ SDG ESG BCG คือการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG: Green House Gas) จำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่นานาชาติต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เป้าหมายของ Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายของ Net Zero Emissions ภายในปี ค.ศ. 2065 ตามลำดับ สถานประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงงานอุตสาหกรรม ถือเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อย GHG จึงจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างจริงจังเพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนลงร่วมกันให้ได้
แนวคิด LEAN รวมถึง Kaizen และ 5ส เป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อกำจัดความสูญเปล่า และเป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ที่สามารถประยุกต์ใช้ระบบดังกล่าวสำหรับค้นหาจุดปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลิตภาพ และลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนลงได้ในคราวเดียวกันไปพร้อมๆ กัน
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการที่ต้องลดปริมาณการปล่อย GHG ให้ได้โดยเร็ว เพื่อมองให้เห็นความสูญเปล่า และความสูญเสียที่แฝงอยู่ในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรที่สัมพันธ์กับการปล่อยปริมาณคาร์บอน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับผลิตภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม และลดใช้พลังงานได้จำนวนมากจากประยุกต์ใช้แนวคิด LEAN เพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิผล
เราจึงควรใส่ใจ ความจำเป็นเร่งด่วนในเรื่อง Carbon neutrality และ Net Zero Emissions เพื่อการควบคุมการดำเนินงานลดการปล่อยคาร์บอนที่ไม่จำเป็น จากแหล่งกำเนิด GHG ภายในองค์กร และการค้นหาจุดที่จะสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้
มุ่งค้นหา “ความสูญเปล่า” 7 ประการ กับการปล่อย GHG ผลกระทบ สาเหตุ และการแก้ไข การประยุกต์หลักการ ขั้นตอน และแนวคิด LEAN เพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนทั่วทั้งองค์กร เพื่อนำไปสู่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ (สินค้า/บริการ)ในมุมมองของลูกค้าในท้ายที่สุด
แหล่งข้อมูล