5 AgriTech ทรานสฟอร์ม อุตสาหกรรมการเกษตรไทย สู่ยุคดิจิทัล

Share

Loading

ต้องยอมรับว่าหลายปีที่ผ่านมา การเกษตรในประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ค่าผลผลิตที่ไม่แน่นอน และความต้องการเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในตลาดโลก การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการพลิกฟื้นและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรไทยให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น และ AI ในภาคเกษตรกรรม (AgriTech) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเกษตรไทยอย่างรวดเร็ว

เพราะปัจจุบัน ปัจจุบัน AI สามารถแสดงออกเลียนแบบสติปัญญาของมนุษย์ผ่านการเรียนรู้อัลกอริทึม (กระบวนการและระบบขั้นตอนที่ถูกตั้งไว้สำหรับการแก้ปัญหา) ให้เหตุผลและแก้ไขอัลกอริทึมนั้นๆ เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ให้ออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้เข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตการเกษตรได้มากขึ้น ระบบ AI สามารถนำมาใช้เก็บข้อมูลและนำข้อมูลวิเคราะห์ ปรับปรุงขั้นตอนการทำการเกษตร

และ AgriTech ก็เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาและปฏิรูปภาคเกษตรกรรม เปรียบเสมือนการ “อัพเกรด” การเกษตรแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นระบบอัจฉริยะ โดยใช้นวัตกรรมต่างๆ เช่น AI (ปัญญาประดิษฐ์) โดรน เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้มีอย่างแม่นยำ มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต รวมถึงช่วยแก้ปัญหาสำคัญอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้การเกษตรกลายเป็นอาชีพที่ทันสมัย น่าสนใจ และมีความยั่งยืนมากขึ้น

ที่ผ่านมา มีการพัฒนาและนำเทคโนโลยี AgriTech มาใช้ เกิดขึ้นในหลายประเทศ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้จำกัดแค่ในประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงเท่านั้น แต่ยังมีการขยายตัวในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งทุกภาคส่วนของโลกต่างกำลังเข้าสู่การ Transforms สู่ AgriTech เพื่อให้สามารถรับมือกับอนาคตของการเกษตรที่ท้าทายยิ่งขึ้นได้

รีวิวต้นแบบการใช้ Agritech พัฒนา อุตสาหกรรมการเกษตร ระดับโลก

เพื่อให้เห็นภาพการปรับเอา Agritech ไปใช้ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ต้องขอยกตัวอย่าง Success case ของ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอ้างอิงจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า นอกจากประเทศเนเธอร์แลนด์จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่และระบบชลประทานแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีองค์ความรู้

โดยจุดเริ่มต้นมาจากเมืองไลเดิน (Leiden) ได้ทำการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1575 ในชื่อมหาวิทยาลัยไลเดิน (Universiteit Leiden) ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสวนพฤกษศาสตร์สมัยใหม่แห่งแรกของโลกและเริ่มมีการปลูกพืชในเรือนกระจกเพื่อใช้ปลูกพืชเขตร้อน อีกทั้งยังมีการศึกษาเรื่องต้นไม้อย่างเป็นระบบทั้งส่วนประกอบของพืช การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ไปจนถึงการดูแลดอกไม้ต่างๆ

ขณะที่ ข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ รัฐอิสราเอล ได้อธิบายว่า ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและดิน ได้นำเอาต้นแบบ SupPlant เป็นบริษัทเทคโนโลยีการเกษตรของอิสราเอล (AgiTech) ที่พยายามปรับปรุงการใช้น้ำของเกษตรกร ผลิตภัณฑ์หลักของพวกเขา คือระบบตรวจจับพืชซึ่งใช้อัลกอริธึมขั้นสูงที่วิเคราะห์ข้อมูลสภาวะ ปัจจุบัน (Live data) จากการใช้เซ็นเซอร์ไปที่พืช ดิน และอุตุนิยมวิทยา (Plant-Sensing system) และแปลง เป็นคำแนะนำด้านการชลประทานและข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2555 ตั้งอยู่ในเมืองอาฟูลา และได้ใช้เทคโนโลยีนี้ทำงานทั้งในอิสราเอล และต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ เม็กซิโก และอาร์เจนตินา บริษัทได้ระดมทุนมากกว่า 40 ล้านเหรียญ สหรัฐตลอดหลายปีที่ผ่านมา

SupPlant แก้ปัญหานี้และหวังช่วยเกษตรกรในการตัดสินใจโดยพิจารณาจากสภาพของแปลงเกษตร มากกว่าสภาพอากาศ ระบบ Plant-Sensing ที่ติดตั้งจะแสดงสภาพของพืชและแนะน้าให้เกษตรกรรดน้้าเมื่อไหร่ และเท่าไหร่ ซึ่ง SupPlant ไม่ได้จัดระบบการให้น้้า เมื่อชาวนามีอยู่แล้ว แต่จะให้โซลูชันทางเทคโนโลยีแก่พวก เขา โดยจะแจ้งให้ทราบเมื่อต้นไม้ของเขากระหายน้ำ

6 ปัจจัยสะท้อนว่าเกษตรกรไทย จำเป็นต้อง Transforms สู่ Agritech อย่างเร่งด่วน

ที่ผ่านมามีหลายปัจจัยที่บังคับให้ภาคเกษตรกรรมของไทยต้องปรับตัว ดังนี้

1.การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและโลกร้อนทำให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง, น้ำท่วม หรือพายุที่รุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตร ถ้าเกษตรกรไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยในการคาดการณ์หรือจัดการกับปัญหาเหล่านี้ การผลิตอาจลดลงได้ การใช้เทคโนโลยี Agritech เช่น การใช้เซ็นเซอร์และการวิเคราะห์ข้อมูลจาก AI จะช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวและรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.การเพิ่มขึ้นของประชากรและความต้องการอาหาร

จำนวนประชากรโลกและในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายความว่าความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เกษตรกรไทยต้องผลิตอาหารให้เพียงพอและมีคุณภาพสูง แต่พื้นที่เกษตรกรรมมีข้อจำกัด ดังนั้น การใช้ Agritech เพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่จำกัดหรือการเกษตรในโรงเรือน (Greenhouse) จึงเป็นทางเลือกที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

3.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ในปัจจุบัน การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น น้ำและดินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การใช้เทคโนโลยีเช่น IoT, AI, และ Big Data ช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตามและวิเคราะห์สภาพดินและน้ำได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียทรัพยากรและเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืน

4.การปรับตัวให้ทันกับตลาดและความต้องการของผู้บริโภค

ตลาดการเกษตรในปัจจุบันไม่ใช่แค่เรื่องของปริมาณสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับคุณภาพ ความปลอดภัย และการตามทันรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้เทคโนโลยี Agritech ช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าที่ตรงตามมาตรฐานและคุณภาพที่ผู้บริโภคต้องการ รวมถึงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

5.การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน

เกษตรกรไทยยังเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานและทรัพยากรต่างๆ การนำ Agritech มาใช้ เช่น การใช้โดรนในการพ่นสารเคมี, การใช้ระบบอัตโนมัติในการเก็บเกี่ยว จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.การแข่งขันในตลาดโลก

ในระดับโลก ตลาดสินค้าเกษตรมีการแข่งขันสูง และเทคโนโลยี Agritech จะช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูงและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยเฉพาะในตลาดที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารและมาตรฐานการผลิต

อัปเดตความก้าวหน้าด้าน AI ในภาคเกษตรของไทย

ด้านสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ระบุถึงประเด็น การปรับตัวของเกษตรกรไทย สู่ยุคดิจิทัลว่าภาคการเกษตร เป็นแหล่งสร้างรายได้สำคัญให้แก่ประชากรจำนวนมากของประเทศไทย และเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยมาอย่างยาวนาน

โดยวิวัฒนาการของเกษตรกรรมไทย เริ่มต้นด้วยการใช้แรงคน และต่อมาได้มีการนำเครื่องจักรมาใช้ทุ่นแรงในการเพาะปลูก ปัจจุบันการเกษตรของไทย ได้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และลดการสูญเสีย

โดย 5 AgriTech ทรานสฟอร์ม อุตสาหกรรมการเกษตรไทย สู่ยุคดิจิทัล ได้แก่

1.ระบบ IoT Sensor สำหรับวัดความชื้นในดิน เพื่อตรวจสอบค่าข้อมูลความชื้นในดินของพืชที่ปลูก

2.ระบบให้น้ำแบบแม่นยำอัจฉริยะ เป็นระบบที่นำมาใช้เพื่อควบคุมการให้น้ำอย่างแม่นยำตรงตามความต้องการของพืช ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ และเกิดการประหยัดแรงงานและน้ำ

3.ระบบให้น้ำแบบโซล่าปั๊ม เป็นการนำโซล่าเซลล์เชื่อมต่อกับปั๊มน้ำ เพื่อสูบน้ำมาเก็บไว้ใบบ่อ หรือจ่ายน้ำไปยังแปลงเกษตรได้

4.เครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติ เป็นการผสมสูตรปุ๋ยตามโปรแกรมที่ตั้งค่าได้อัตโนมัติ

5.สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) เป็นการวัดสภาพอากาศ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยหลักในแปลงเพาะปลูก แล้วนำมาวางแผนพยากรณ์ผลผลิตที่จะปลูกในฤดูกาลนั้นๆ เช่น วัดความชื้น ความเร็วลม ทิศทางลม ความเข้มแสง ปริมาณน้ำฝน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัจจัยในการผลิต และประมวลผลเพื่อคาดคะเน

นอกจากนั้น ยังมีเทรนด์การใช้ “หุ่นยนต์เกษตรกรแห่งอนาคต” ในการพลิกโฉมวงการเกษตรกรรม โดย NIA ระบุเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีเกษตรกำลังก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการนำหุ่นยนต์มาใช้แทนแรงงานคนในภาคการเกษตร ซึ่งกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการหว่านเมล็ด รดน้ำ ใส่ปุ๋ย หรือเก็บเกี่ยวผลผลิต หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และทำงานในสภาพแวดล้อมที่อันตรายหรือไม่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ได้อีกด้วย

ปัจจุบัน ประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ได้นำหุ่นยนต์มาใช้ในภาคการเกษตรกันอย่างแพร่หลาย และคาดว่าตลาดหุ่นยนต์เกษตรจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยมีมูลค่าตลาดสูงถึง 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2568 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของเทคโนโลยีนี้ในการปฏิวัติวงการเกษตรกรรมทั่วโลก

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2025/01/09/agritech-for-thai-agriculture/