Page 49 - Security Systems Magazine Issue 23 Mar-Apr 19
P. 49
ลักษณะของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน
สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) เมืองที่ค านึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
และสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่าง
เป็นระบบ เช่น การจัดการน้ า การดูแลสภาพอากาศ การบริหารจัดการของเสีย และการเฝ้า
ระวังภัยพิบัติ ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ
เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น
การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) เมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบจราจรและ
ขนส่งอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมโยงของระบบขนส่ง
และการสัญจรที่หลากหลาย เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง
รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เมืองที่สามารถบริหารจัดการด้านพลังงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่เพื่อสร้าง
ความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก
พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) เมืองที่มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ าทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนเปิดกว้าง
ส าหรับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน
การด ารงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) เมืองที่มีการพัฒนาสิ่งอ านวยความสะดวก
โดยค านึงถึงหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
มีความปลอดภัย และมีความสุขในการด ารงชีวิต
การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) เมืองที่พัฒนาระบบบริการภาครัฐ
เพื่ออ านวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ
โดยมุ่งเน้น ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการ
ประยุกต์ใช้นวัตกรรมบริการ
6 Business of Security Systems Magazine | Business of Security Systems Magazine | 49 49